คำนำ

          รายงานการสำรวจสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปี พ.ศ. 2562 ในพื้นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานยุทศาสตร์มหาวิทยาลัยฯ ด้านกายภาพ เรื่อง : การบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาและรวบรวมเนื้อหาข้อมูลแผนที่ รวมถึงเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสภาพของพื้นที่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

          ในรายงานฉบับนี้มีเนื้อหาสาระที่สำคัญ ได้แก่ รายงานการสำรวจแนวเขตที่ดิน รายงานการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน รายงานสำรวจพื้นที่ทับซ้อนแนวเขตที่ดินระหว่างนิคมสหกรณ์พร้าวและอุทยานแห่งชาติศรีลานนา และรายงานการสำรวจการรุกที่ดินทำกินของราษฎรในเขตพื้นที่สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว

          คณะผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการสำรวจสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ฯ ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์และมีส่วนช่วยในการสนับสนุนด้านการตัดสินใจการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อมของทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในอนาคตต่อไป

          ขอขอบคุณหน่วยงานราชการภายนอกและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมทางานแบบเชิงบูรณาการ ให้งานสำรวจสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปี พ.ศ. 2562 อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จลุล่วงด้วยดี ได้แก่ 1.)อุทยานแห่งชาติศรีลานนา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 2.)นิคมสหกรณ์พร้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์ 3.)นายกเทศมนตรีตาบลแม่ปั๋ง 4.)กำนันตาบลแม่ปั๋ง 5.)ผู้ใหญ่บ้านบ้านห้วยงู ตาบลแม่ปั๋ง รวมถึงราษฎรในพื้นที่

บทนำ

          ในส่วนบทนำนี้ ได้เล่าถึงวัตถุประสงค์ความเป็นมาของการจัดทำรายงานการสำรวจสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปี พ.ศ.2562 ในพื้นที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ฉบับนี้ โดยมีเนื้อหาสาระประเด็นสำคัญๆดังต่อไปนี้

          เดิมปี พ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ขอรับการสนับสนุนการขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อขอใช้ขยายงานการเรียนการสอนและงานวิจัยตามโครงการอุทยานเกษตรและฟาร์มมหาวิทยาลัย พื้นที่โครงการตั้งอยู่ที่ บ้านห้วยงู ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 2,667 –3 –05 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 แปลง ได้แก่ แปลงที่ 1 ฝั่งทางด้านทิศตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 1,287 – 1 –95 ไร่ และแปลงที่ 2 ฝั่งทางด้านทิศตะวันตก เนื้อที่ประมาณ 1,380 –1 –10 ไร่ และในปี พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ขอปรับลดการใช้ประโยชน์ในพื้นที่แปลงที่ 1 เดิมเนื้อที่ประมาณ 1,287 –1 –95 ไร่ ขอปรับลดใช้ที่ดินเหลือเนื้อที่ประมาณ 1,210 –0 –43 ไร่ และแปลงที่ 2 เดิมเนื้อที่ประมาณ 1,380 –1 –08 ไร่ และจะขอปรับลดขอใช้เนื้อที่เหลือประมาณ 84 –3 –91 ไร่

          ต่อมา ปี พ.ศ.2561 เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ลงพื้นที่สำรวจแนวเขตที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อใช้สำหรับการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยฯ ทั้งนี้ จากการดำเนินการสำรวจภาคพื้นดิน (Ground Survey) และการสำรวจทางไกลผ่านระบบดาวเทียม โดยการนำข้อมูลแนวเขตที่ดินของอุทยานแห่งชาติศรีลานนานามาทับซ้อนแนวเขตที่ดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าวด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) พบว่า บริเวณแปลงที่ 1 ฝั่งทางด้านทิศตะวันออก โดยมีเนื้อที่ประมาณ 1,210 – 0 – 43 ไร่ นั้น พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทับซ้อนอยู่ในแนวเขตที่ดินอุทยานแห่งชาติศรีลานนา และยังพบว่าบางพื้นที่ได้มีราษฎรได้เข้าไปรุกที่ดินทำกินโดยการทำพื้นที่เกษตรกรรมรวมถึงมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างลักษณะเป็นที่พักอาศัยทั้งที่ถาวรและไม่ถาวรเป็นจำนวนมาก

          ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้เชิญหน่วยงานราชการภายนอกและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา นิคมสหกรณ์พร้าว นายกเทศมนตรีตาบลแม่ปั๋ง กำนันตาบลแม่ปั๋ง ผู้ใหญ่บ้านบ้านห้วยงู ตาบลแม่ปั๋ง รวมถึงราษฎรในพื้นที่ มาเพื่อประชุมและรับทราบสถานการณ์ปัญหาประเด็นดังกล่าว รวมถึงทางานร่วมกันแบบเชิงบูรณาการ โดยการลงพื้นที่สำรวจแนวเขตที่ดินและสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เมื่อวันที่ 28 –29 สิงหาคม และวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ผลจากการดาเนินงานสามารถจำแนกประเด็นสำคัญๆ ได้ 4 ประเด็น ได้แก่ 1.)เรื่องแนวเขตที่ดินสานักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2.) เรื่องการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน 3.)เรื่องพื้นที่ทับซ้อนแนวเขตที่ดินระหว่างนิคมสหกรณ์พร้าวและอุทยานแห่งชาติศรีลานนา และ 4.)เรื่องการสำรวจการรุกที่ดินทำกินของราษฎรในเขตพื้นที่สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว

          หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานการสำรวจสานักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ฯ ฉบับนี้ จะเป็นประโยชน์และมีส่วนช่วยในการสนับสนุนด้านการตัดสินใจการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อมของทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในอนาคตต่อไป

นิยามศัพท์

          ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) หมายถึง ระบบการจัดการข้อมูลทางภูมิศาสตร์บนพื้นผิวโลกโดยใช้ข้อมูลพิกัดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อ้างอิงในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการประมวลผลวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเชิงพื้นที่ที่ได้จากแหล่งอื่นจากการสำรวจ

          ฐานข้อมูลการสำรวจ หมายถึง การจัดเก็บข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ ขอบเขตพื้นที่ ข้อมูลการใช้ที่ดินและพื้นที่ต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลภาพและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

          การวิเคราะห์แปลภาพถ่ายดาวเทียม หมายถึง การจัดเก็บข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมในการดำเนินงานสำรวจเน้นการใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายดาวเทียม โดยมีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น การจัดเก็บข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม การวิเคราะห์และแปลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ตลอดจนการจัดทาฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อประยุกต์ใช้ในการสำรวจและเป็นฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)

          การผลิตข้อมูลเชิงแผนที่ หมายถึง การพิมพ์แผนที่หรือข้อมูลดาวเทียมเชิงพื้นที่ หรือข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศเชิงพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการสำรวจข้อมูลภาคพื้นดิน

          เครื่องมือระบุพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) หมายถึง เครื่องตรวจจับพิกัดบนพื้นผิวโลก ใช้สาหรับอ้างอิงระบุตำแหน่งสิ่งต่างๆบนพื้นผิวโลก

ขั้นตอนการดาเนินงาน

          การสำรวจแนวเขตที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี พ.ศ. 2562 พื้นที่สานักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีขั้นตอนการดาเนินงานและรายละเอียดโดยสังเขปดังต่อไปนี้ 

ผลการดำเนินงาน

          ผลการสำรวจสานักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในพื้นที่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 28 – 29 สิงหาคม และวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมาโดยการทางานแบบเชิงบูรณาการระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อุทยานแห่งชาติศรีลานนา นิคมสหกรณ์พร้าวรวมถึงผู้นาชุมชน ผู้ใหญ่บ้านบ้านห้วยงู ร่วมกันสำรวจแนวเขตที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบันของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่ได้ขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว โดยมีราษฎรในพื้นที่ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทาให้ทราบถึงสถานการณ์ปัญหาแนวเขตที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน สามารถจำแนกประเด็นหลักๆได้อยู่ 4 ประเด็น เพื่อให้ครอบคลุมตามเนื้อหาสำระสำคัญในรายงานฉบับนี้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี

          ประเด็นที่ 1 : รายงานการสำรวจแนวเขตที่ดินสานักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อำเภอพร้าว)

          ประเด็นที่ 2 : รายงานการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน

          ประเด็นที่ 3 : รายงานการสำรวจพื้นที่ทับซ้อนแนวเขตที่ดิน (ระหว่างนิคมสหกรณ์พร้าวและอุทยานแห่งชาติศรีลานนา

          ประเด็นที่ 4 : รายงานการสำรวจการรุกที่ดินทากินของราษฎรในเขตพื้นที่สานักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว

ประเด็นที่ 1

รายงานการสำรวจแนวเขตที่ดินสานักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้

อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

          สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2534 มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายงานการเรียนการสอนและงานวิจัยตามโครงการอุทยานเกษตรและฟาร์มมหาวิทยาลัย โดยมีประวัติความเป็นมาดังต่อไปนี้

          ปี พ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ประมาณ 3,000 ไร่ เพื่อวัตถุประสงค์ขยายงานการเรียนการสอนและงานวิจัยตามโครงการอุทยานเกษตรและฟาร์มมหาวิทยาลัย ความละเอียดแจ้งอยู่แล้วนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์อนุญาตให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ แปลง 3 บางส่วน เนื้อที่ประมาณ 2,667 – 3 – 05 ไร่ เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ดังนี้ คือ 1.)แปลงที่ 1 ฝั่งด้านทิศตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 1,287 – 1 – 95 ไร่ และแปลงที่ 2 ฝั่งด้านทิศตะวันตก เนื้อที่ประมาณ 1,380 – 1 – 10 ไร่

          ปี พ.ศ.2541 มหาวิทยาแม่โจ้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้ คราวประชุมครั้งที่ 19/2540 เรื่องการขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าวตามที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์นั้น ที่ประชุมฯ มีมติให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอใช้ประโยชน์ในที่ดิน ดังนี้ 1.)พื้นที่แปลงที่ 1 เนื้อที่ประมาณ 1,287 – 1 – 95 ไร่ นิคมสหกรณ์พร้าวได้ขอนาไปจัดสรรให้ราษฎร 77 – 1 – 52 ไร่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความประสงค์จะขอใช้พื้นที่จานวนที่เหลือ จานวนเนื้อที่ประมาณ 1,210 – 0 – 43 ไร่ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับจัดทำเป็นไร่ฝึกนักศึกษาและจัดทำโครงการอนุรักษ์ป่าไม้ 2.)พื้นที่แปลงที่ 2 เนื้อที่ประมาณ 1,380 – 1 – 10 ไร่ นิคมสหกรณ์พร้าวได้ขอนำไปจัดสรรให้ราษฎร รวมพื้นที่ 575 – 3 – 68 ไร่ เป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ 36 – 2 – 08 ไร่ พื้นที่แม่น้ำถนน 248 – 0 – 91 ไร่ พื้นที่ตามหนังสือสำคัญ (น.ส.3ก.) 108 – 0 – 0 ไร่ และพื้นที่สาธารณะ 36 – 2 – 08 ไร่ คงเหลือพื้นที่ 411 – 2 – 43 ไร่ พื้นที่คงเหลือดังกล่าว จานวนเนื้อที่ประมาณ 411 – 2 – 43 ไร่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีความประสงค์จะขอใช้พื้นที่ จำนวนเนื้อที่ประมาณ 84 – 3 – 91 ไร่ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออานวยต่อการ

          ดำเนินการ ประกอบกับมหาวิทยาลัยฯ ได้รับงบประมาณจำกัด ดังนั้นทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอส่งพื้นที่ที่เหลือจากการขอใช้ประโยชน์ จานวนเนื้อที่ประมาณ 326 – 2 – 52 ไร่ คืนนิคมสหกรณ์พร้าว เพื่อนาไปใช้ประโยชน์ต่อไป

          ปัจจุบันสำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่รวมประมาณ 1,295 –0 –43 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 แปลง ดังนี้ แปลงที่ 1 ฝั่งทางด้านทิศตะวันออก เนื้อที่ประมาณ 1,210 –0 –43 ไร่ และแปลงที่ 2 ฝั่งทางด้านทิศตะวันตก เนื้อที่ประมาณ 84 –3 –91 ไร่ (ดังภาพที่ 1 , 2 , 3 และ 4 ตามลำดับ)

ภาพที่ 1 แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแสดงแนวเขตที่ดินสานักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2535

ภาพที่ 2 แผนที่ภูมิประเทศแสดงแนวเขตที่ดินสำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2535

ภาพที่ 3 แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแสดงแนวเขตที่ดินสำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2541

ภาพที่ 4 แผนที่ภูมิประเทศแสดงแนวเขตที่ดินสำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2541

ภาพที่ 5 แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแสดงรูปแปลงที่ดิน แปลงที่ 1 ปี พ.ศ.2562

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 6 แผนที่ภูมิประเทศแสดงรูปแปลงที่ดิน แปลงที่ 1 ปี พ.ศ.2562

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 7 แผนที่ภูมิประเทศแสดงรูปแปลงที่ดิน แปลงที่ 2 ปี พ.ศ.2562

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 8 แผนที่ภูมิประเทศแสดงรูปแปลงที่ดิน แปลงที่ 2 ปี พ.ศ.2562

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ประเด็นที่ 2

รายงานการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้

อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

          ผลจากการศึกษาสำรวจและวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 2 แปลง คือ การใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงที่ 1 และการใช้ประโยชน์ที่ดินแปลงที่ 2 ดังนี้

          การใช้ประโยชน์ที่ดิน แปลงที่ 1 แบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1.)พื้นที่เกษตรกรรม มีพื้นที่ประมาณ 612.00 ไร่ ร้อยละ 50.57 ของพื้นที่ทั้งหมด สามารถจำแนกพื้นที่เกษตรกรรมออกเป็น 2 พื้นที่ ย่อย คือ พื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้และพื้นที่ราษฎร พื้นที่เกษตรกรรมของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประเภทยางพารา มีพื้นที่ประมาณ 243.98 ไร่ ร้อยละ 39.87 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด และพื้นที่เกษตรกรรมของราษฎร ประเภท นาข้าว ตะไคร้ ลำไย มะม่วง ยางพาราและฟาร์มไก่ มีพื้นที่ประมาณ 368.02 ไร่ ร้อยละ 60.13 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด 2.)พื้นที่ป่า มีพื้นที่ประมาณ 560.79 ไร่ ร้อยละ 46.34 ของพื้นที่ทั้งหมด 3.)พื้นที่รกร้าง มีพื้นที่ประมาณ 30.64 ไร่ ร้อยละ 2.53 ของพื้นที่ทั้งหมด 4.)พื้นที่อื่นๆ มีพื้นที่ประมาณ 6.69 ไร่ ร้อยละ 0.55 ของพื้นที่ทั้งหมด

           การใช้ประโยชน์ที่ดิน แปลงที่ 2 แบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1.) พื้นที่สำนักงาน มีพื้นที่ประมาณ 1.80 ไร่ ร้อยละ 2.12 ของพื้นที่ทั้งหมด 2.) พื้นที่เกษตรกรรม มีพื้นที่ประมาณ 58.22 ไร่ ร้อยละ 68.51 ของพื้นที่ทั้งหมด 3.) พื้นที่ป่า มีพื้นที่ประมาณ 7.01 ไร่ ร้อยละ 8.25 ของพื้นที่ทั้งหมด 4.) พื้นที่รกร้าง มีพื้นที่ประมาณ 17.95 ไร่ ร้อยละ 21.12 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 2 และ 3 และภาพที่ ...... ดังต่อไปนี้

ภาพที่ 9 แผนภูมิแสดงการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน แปลงที่ 1

ภาพที่ 10 แผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แปลงที่ 1 ปี พ.ศ.2562

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 11 แผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แปลงที่ 1 ปี พ.ศ.2562

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 12 แผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แปลงที่ 2 ปี พ.ศ.2562

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 13 แผนที่แสดงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แปลงที่ 2 ปี พ.ศ.2562

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ประเด็นที่ 3

รายงานการสำรวจพื้นที่ทับซ้อนแนวเขตที่ดิน

(ระหว่างนิคมสหกรณ์พร้าวและอุทยานแห่งชาติศรีลานนา)

อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

          ผลจากการศึกษาและสำรวจ พบว่า พื้นที่ทับซ้อนแนวเขตที่ดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในพื้นที่ขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างนิคมสหกรณ์พร้าวและอุทยานแห่งชาติศรีลานนา อยู่ในบริเวณแปลงที่ 1 ฝั่งทางด้านทิศตะวันออก มีพื้นที่ทั้งหมด 1,210.11 ไร่ มีพื้นที่ทับซ้อนประมาณ 780.07 ไรร้อยละ 64.46 ของพื้นที่ทั้งหมด เนื่องจากพระราชบัญญัติที่ดินเพื่อการครองชีพ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ประกาศแนวเขตนิคมสหกรณ์พร้าว ออกประกาศ เมื่อปี พ.ศ. 2511 ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งแยกงานออกจากกรมป่าไม้ ตามพระกฤษฎีกา ปี พ.ศ. 2545 จึงได้มีการออกประกาศแนวเขตที่ดินอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงเป็นที่มาของพื้นที่ทับซ้อนแนวเขตที่ดินระหว่างนิคมสหกรณ์พร้าวและอุทยานแห่งชาติศรีลานนา ดังภาพที่ 14

ภาพที่ 14 แผนที่แสดงพื้นที่ทับซ้อนแนวเขตที่ดิน ระหว่างนิคมสหกรณ์พร้าวและอุทยานแห่งชาติศรีลานนา

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

 

ประเด็นที่ 4

รายงานการสำรวจการรุกที่ดินทากินของราษฎรในพื้นที่สานักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว

          ผลจากการศึกษาและสำรวจ พบว่า ที่ดินที่มีราษฎรเข้ามารุกที่ดินทำกินในพื้นที่สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์ ทั้งที่มายืนยันตัวตนและไม่มายืนยันตัวตน จำนวนประมาณ 61 แปลง มีพื้นที่รวมกันประมาณ 440.31 ไร่ ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ประเภทเกษตรกรรม เช่น นาข้าว นาตะไคร้ สวนลำไย สวนมะม่วง และยางพารา เป็นต้น โดยผู้ที่มายืนยันตัวตนแสดงตัวเป็นเจ้าของที่ดิน 33 รายชื่อ มีรายละเอียดดังตารางที่ 4 ดังต่อไปนี้

ภาพที่ 15 แผนที่แสดงพื้นที่ถูกรุกที่ดินทากินโดยราษฎร

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

ภาพที่ 16 แผนที่แสดงพื้นที่ถูกรุกที่ดินทากินโดยราษฎร

สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

สรุปผลการดาเนินงานและข้อเสนอแนะ

          ประเด็นที่ 1 : รายงานการสำรวจแนวเขตที่ดินสำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อำเภอพร้าว)

          ประเด็นที่ 2 : รายงานการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดิน

          ประเด็นที่ 3 : รายงานการสำรวจพื้นที่ทับซ้อนแนวเขตที่ดิน (ระหว่างนิคมสหกรณ์พร้าวและอุทยานแห่งชาติศรีลานนา)

          ประเด็นที่ 4 : รายงานการสำรวจการรุกที่ดินทากินของราษฎรในเขตพื้นที่สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว

 

ภาพที่ 3 หนังสือราชการที่ กษ 1108/10/27 เรื่อง : สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ ขอใช้พื้นที่ป่าไม้ส่วนกลาง 20 % ในเขตนิคมสหกรณ์พร้าว

ภาพที่ 4 หนังสือราชการที่ กษ 1108/1403 เรื่อง : สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ขอใช้พื้นที่ป่าไม้ส่วนกลาง 20 % ในเขตนิคมสหกรณ์พร้าว

ภาพที่ 5 หนังสือราชการที่ กษ 1108/8311 เรื่อง : ขอรับการสนับสนุนการขอใช้ที่ดินในเขตจัดนิคมสหกรณ์พร้าว

ภาพที่ 6 แผนที่วงรอบกันเขตที่สถาบันเทคโนโลยีเกษตรแม่โจ้


ปรับปรุงข้อมูล 25/8/2564 11:43:30
, จำนวนการเข้าดู 0