คำนำ

          “มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต้นกำเนิดแห่งเกษตรกรรม” มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้น ผลิตนักเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 80 ปีโดยเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2477 ปัจจุบันได้เปิดหลักสูตรการเรียน การสอนรวมวิทยาเขตทั้งหมด 3แห่งได้แก่ 1.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 2.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้วิทยาเขตแพร่ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่และ 3.) มหาวิทยาลัยแม่โจ้วิทยาเขตชุมพร อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

          การจัดทำผังแม่บทมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2528 สมัยนั้น ยังเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้โดย ทางมหาวิทยาลัยได้ขอความอนุเคราะห์จัดทำผังแม่บทของสถาบันฯ จากกรมโยธาธิการ หรือกรมโยธาธิการและผังเมืองในปัจจุบัน และได้ยึดถือผังแม่บทใช้มาโดยตลอด แต่เนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 35 ปีด้วยบริบทสภาพแวดลอ้มต่างๆยุคสมัยที่เปลี่ยนไป คณะกรรมการจัดทำผังแม่บท มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงเห็นสมควรให้มีการปรับปรุงผังแม่บท มหาวิทยาลัยแม่โจ้ใหม่ ที่เป็นปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องการ บริบทและสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน และยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย (Road Map) ระยะ 15 ปี พ.ศ. 2555 – 2569

          อย่างไรก็ตาม โครงการปรับปรุงผังแม่บท มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ฉบับนี้ เป็นเพียงเครื่องมือหรือขั้นตอนเบื้องต้นของการวางผัง แม่บททางกายภาพ เพื่อใช้เป็นกรอบหรือแนวทางสำหรับชี้นำ การพัฒนามหาวิทยาลัย โดยมีข้อจำกัดหลายประการ เนื่องจากต้องจัดทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่จำกัด เพื่อให้ทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ด้านการออกแบบวางผังและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัยใน ระยะแรก ส่วนการดำเนินการตามผังแม่บทในระยะต่อไปนั้นจะต้องอาศัยการมส่วนร่วมของทุกคนภายในมหาวิทยาลัย จึงจะบรรลุ เป้าหมายตามยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย (Road Map)และช่วยให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว(Green University) ตามที่คาดหวังได้

          ทั้งนี้คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการการปรับปรุงผังแม่บทมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถนำ แผนมาปรับใช้เพื่อพัฒนาเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยรวมถึงแนวทางการบริหารจัดการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย เพื่อช่วยในการวิเคราะห์และตัดสินใจ ให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของนักศึกษาและบุคลากรชาวแม่โจ้อย่างยั่งยื่นต่อไปในอนาคต

บทที่ 1 บทนำ

1.1 หลักการและเหตุผล

1.2 วัตถุประสงค์

1.3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.4 รายละเอียดการดำเนินงานการ

1.1 หลักการและเหตุผล

          ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 15 ปีพ.ศ. 2555 – 2569 (Road Map) โดยมุ่งเน้นการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยใน 3 ประเด็น คือ การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ และการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ เพื่อมุ่งไปสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” (Goal) ซึ่งความหมายของ “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต” คือการสร้างชีวิตที่ดีมากกว่าการสร้างวัตถุ เป็นชีวิตที่ดีของชาวแม่โจ้ หมายถึง นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรและคนในชุมชนโดยรอบ ต้องเป็นชีวติที่ยึดถือการเกษตรเป็นรากฐานที่สำคัญ ในการพัฒนา คือ การเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างความสมดุลเคารพและเป็นมิตรกับธรรมชาติ รักษาวัฒนธรรมความดีงาม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุขและยั่งยืน

    ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยจึงได้แต่งตั้งคณะทำงานผังแม่บทมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อดำเนินการ โครงการจัดทำปรับปรุงผังแม่บทมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการพัฒนาผังแม่บทกายภาพของมหาวิทยาลัยเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ดังกล่าว สำหรับเสนอแนวคิดการวางผัง (Conceptual Plan) ต่อสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและ นำพามหาวิทยาลัยมุ่งไปสู่ Road Map การเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวติ Maejo University of Life” ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

1.2 วัตถุประสงค์

          1.2.1) เพื่อจัดทำและปรับปรุงผังแม่บทเกี่ยวกับการกำหนดและควบคุม การพัฒนาผังแม่บทมหาวิทยาลัยแม่โจ้โดยเฉพาะด้าน การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยสู่ปีที่100 (Road Map)

          1.2.2) เพื่อนำแนวคิดและวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัย (Green University , Eco University , Organic University) มาสู่การพัฒนาทางด้านกายภาพของมหาวิทยาลัย

          1.2.3) เพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมของมหาวิทยาลัย ให้เหมาะสมกบัการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและบุคลากรและชุมชนโดยรอบหาวิทยาลัย

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

          1.3.1) ได้ผังแม่บทที่เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย Road Map

          1.3.2) สามารถนำแนวความคิดและวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยมาสร้างแนวทางในการพัฒนาด้านกายภาพของมหาวิทยาลัยได้

          1.3.3) มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีสภาพแวดล้อมที่ดีเหมาะสมกบัการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำ และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของ นักศึกษาและบุคลากรชาวแม่โจ้และชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยได้

1.4 รายละเอียดการดำเนินงาน       

          1.4.1 การสำรวจและจัดทำแผนที่

         1.4.2 การวิเคราะห์ข้อมูล

          1.4.3 การวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อม


          1.4.4 การสังเคราะห์ข้อมูล

          การใช้สังเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการใช้ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลมาดาเนินการสังเคราะห์ผังแม่บท โดยประกอบด้วยผังแม่บทในด้านต่าง ๆ เช่น ผังแม่บทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังโครงสร้างพื้นฐานอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ผังระบบการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย เป็นต้น

บทที่2 ความเป็นมาและบทบาท ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

2.1 ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

          มหาวิทยาลัยแม่โจ้เชียงใหม่ เป็นสถาบันการศึกษาด้านเกษตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2477 มีชื่อว่า โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ มีประวัติความเป็นมาดังต่อไปนี้

          พ.ศ.2460 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี สนาบดีกระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ขึ้นที่บริเวณหอวัง หรือบ้านสวนหลวงสระประทุมบริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบันเรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง" ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของฐานความคิดและกิจกรรมของรัฐค้านให้การศึกษาแผนใหม่ทางการเกษตร

          พ.ศ.2477 กระทรวงธรรมการได้จัดตั้งเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ โดยรับนักเรียนจากผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 6 หลักสูตรกำหนดเวลาเรียน 2 ปีโดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์

          พ.ศ.2477 กระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือขึ้น” โดยใช้สถานที่ร่วมกับโรงเรียนฝึกหัดครู ประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ โรงเรียนวิสามัญเกษตรกรรมที่ตั้งขึ้นใหม่นี้มีหลักสูตรเวลาเรียน 4 ปีโดยรับจากผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 4 โรงเรียนสามัญเมื่อเรียนจบแล้ว กระทรวงธรรมการกำหนดให้มีวิทยฐานะเทียบเท่าชั้นมัธยมปีที่

          พ.ศ.2481 กระทรวงธรรมการ ได้ยุบเลิกโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคใต้ ที่คอหงส์ จังหวัดสงขลา โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคกลาง บางกอกน้อย ธนบุรี และโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคอีสาน ที่โนนวัด จังหวัดนครราชสีมา และโอนกิจการทั้งหมดของโรงเรียนเหล่านั้น มารวมกันที่มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือที่แม่โจ้ เพียงแห่งเดียว ในปีเดียวกันนี้เอง ได้โอนกิจการจากกระทรวงธรรมการ ไปอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตราธิการ และเปลี่ยนเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ โดยได้รับผู้ที่สำเร็จ จากหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม เพื่อเข้าศึกษาตามหลักสูตรอนุปริญญาเป็นเวลา 3 ปีทางเกษตรศาสตร์ สหกรณ์และวนศาสตร์

          พ.ศ.2452 กระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พื้นที่เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ และที่แม่โจ้ให้เตรียม เป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรเวลาเรียน 2 ปี โดยรับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 สำเร็จจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเบนได้เลย

          พ.ศ.2486 เปลี่ยนเป็น "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ทั้งนี้เพราะวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          พ.ศ.2491 กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการให้แก่กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและเปลี่ยนเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้” รับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 (ม.3 ปัจจุบัน) เข้าศึกษาต่ออีก 3 ปีสำเร็จแล้วได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม โยเริ่มดำเนินการรับนักเรียนประเภทนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.2492 เป็นต้นมา

          พ.ศ.2499 ได้รับการ "ยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่" และขยายหลักสูตรถึงประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม (ปมก.)

          พ.ศ. 2505 ย้ายกิจการฝึกหัดครูมัธยมเกษตรกรรม ไปเปิดดำเนินการที่วิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และ "เปิดหลักสูตรเทคนิคเกษตร" หรือ "ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแผนกเกษตรกรรม" ขึ้นเป็นแห่งแรก

          พ.ศ.2518 ได้รับการสถาปนาเป็น “สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร" โดยพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ.2518

          เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2516 คณะนักศึกษาของวิทยาลัยเกษตรกรรม เชียงใหม่ได้ทำเรื่องเสนอ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ ถึงความจำเป็นที่ควรจะยกฐานะของวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ขึ้นเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อจัดการศึกษาอาชีวเกษตรและเทคนิคเกษตรให้ชั้นสูงขึ้นไปและเป็นการผลิตบัณฑิตในสาขาเทคโนโลยีการเกษตรและธุรกิจการเกษตรและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทาซึ่งทางการเกษตร เพื่อสนองความต้องการของประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในอันที่จะพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วลงมติในหลักการไม่ขัดข้อง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2516 และให้ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพิจารณาดำเนินการต่อไป

          ตามหลักการเดิม สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรจะขอเป็นสถาบันสมทบ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น แต่ทางสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าไม่อาจรับเข้าเป็นสถาบันสมทบได้เพราะสถาบันไม่มีนโยบายในการผลิตบัณฑิตทางเทคโนโลยีการเกษตร ด้วยเหตุนี้สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรจึงขอเป็นสถาบันเอกเทศสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งถ้าเป็นไปได้จริงแล้วจะต้องโอนวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ในกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปสังกัดและเป็นส่วนราชการในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เมื่อรัฐบาลได้ปร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลอีการเกษตร พ.ศ.2517 เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2517 ได้ถูกสมาชิกคัดค้านไม่เห็นด้วยในหลักการ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกับคณะเกษตรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น และจะเป็นการทำให้ผลิตกำลังคนในระต้นกลางทางเกษตรกรรม ซึ่งกรมอาชีวศึกษากำลังกระทำอยู่ต้องขาดไป ในที่สุดที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ.2517 ด้วยคะแนนเสียง 60 ต่อ 40 ร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงเป็นอันตกไป

          หลังจากร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรไม่ผ่านสภา เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2517 แล้ว คณะนักศึกษาและคณาจารย์วิทยาลัยเกษตรเชียงใหม่ ได้จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ข้อเท็จจริงและเหตุผลในการขอยกฐานะวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ขึ้นเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรออกแจกให้ประชาชนและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วยตนเองเพื่อชี้แจงให้ทราบว่า การจัดการศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรจะไม่เป็นการซ้ำซ้อนงานของมหาวิทยาลัยที่มีคณะเกษตรศาสตร์อยู่แล้ว เพราะพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนและความมุ่งหมายในการสอนแตกต่างกันกล่าวคือ มหาวิทยาลัยรับเฉพาะผู้ที่สำเร็จขึ้น ม.ศ.5 สายสามัญ เข้าไปศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีโดยให้ความรู้ในด้านการเกษตรทั่วๆ ไป เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในสาขาเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นสูงที่มุ่งในทางวิทยาศาสตร์และการวิจัย ส่วนสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรจะรับนักศึกษาอาชีวเกษตรที่สำเร็จขึ้น ม.ศ.6 และ ปวส. แผนกเกษตรกรรมเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร 4 ปี และ 2 ปี ตามลำดับ เป็นการคัดเลือกเอานักศึกษาอาชีวเกษตรที่มีความสามารถทางสมองและทางปฏิบัติจำนวนประมาณร้อยละ 20 ของผู้ที่จบ ปวส. แผนกเกษตรกรรมทั้งประเทศ ซึ่งนักศึกษาดังกล่าวนี้มีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศยากมาก ต้องดิ้นรนออกไปศึกษาในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรมีหลักการสอนและการฝึกเน้นหนักไปทางปฏิบัติในสาขาวิชาที่ตนถนัดเพื่อให้มีความรู้ความชำนาญอย่างแท้จริงจนสามารถออกไปประกอบอาชีพได้ โดยไม่ต้องมุ่งรับราชการแต่อย่างเดียว และเป็นการให้การศึกษาเพียงชั้นปริญญาตรีเท่านั้น

          เมื่อได้นำข้อเท็จจริงนี้เสนอต่อรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสามชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้การสนับมนุนเป็นจำนวนมากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2517 กำหนดให้สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรมีอำนาจให้ปริญญาในสาขาที่มีการสอน ในสถาบันเพียงชั้นเดียว คือ ชั้นปริญญาตรี เมื่อรัฐบาลได้ส่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ.2517 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2517 หลังจากอภิปรายกันแล้วสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียง 87 ต่อ 9 แล้วส่งให้กรรมาธิการศึกษาพิจารณาเสร็จแล้ว ได้เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาในวาระสองและวาระสามประกาศเป็นกฎหมายเมื่อวัน 2 มกราคม 2518 ด้วยคะแนนเสียง 101 ต่อ 0 พร้อมกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 261 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2518 และร่างพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารบางส่วนของกรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่ประชุมได้พิจารณาสามวาระรวดแล้วประกาศเป็นกฎหมายในวันเดียวกัน

          พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 261 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2518 และพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารบางส่วนของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ พ.ศ.2518 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 92 ตอนที่ 41 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนาสถาบัน

          พ.ศ.2525 เปลี่ยนชื่อจากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรเป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้" ตามประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 4 เล่ม 99 ตอนที่ 15 ราชกิจจานุเบกษา 3 กุมภาพันธ์ 2525 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้คือ เนื่องจาก วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งประเทศ เนื่องจากมีนักศึกษาที่มาจากทุกภาคของประเทศ ได้เข้าไปศึกษา ณ สถาบันนี้ แต่เมื่อวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร นามนี้จึงไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น

          พ.ศ.2527 สถาบันฯ เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโทเป็นครั้งแรกโดยเปิดรับนักศึกษา 2 สาขาวิชาคือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ และสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร

          พ.ศ.2539 ได้ยกฐานะจาก สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้เป็น "มหาวิทยาลัยแม่โจ้" ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2539

          ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2539 เปลี่ยนสถานะจากมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ภายในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้  พ.ศ.2560 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560 และมีผลบังคับใช้ 30 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือให้มีผลบังคับใช้ใน 6 พฤษภาคม พ.ศ.2560 

2.2 บทบาทของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

         ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นับเป็นสถาบันหนึ่งที่มีบทบาทความสำคัญในการศึกษา ค้นคว้า เผยแพร่ ความรู้ทางด้านเกษตรกรรมแห่งหนึ่งของประเทศ โดยมีบทบาทพอสรุปได้ดังนี้

1. งานด้านบัณฑิต

ปัจจุบัน พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เปิดการเรียนการสอนแบ่งออกเป็น 16 คณะ รวมวิทยาเขต มีจานวนนักศึกษา รวมทั้งสิ้น 13,058 คน มีรายละเอียดดังตารางที่   

    

                                                                        

หมายเหตุ : ข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลนักศึกษาทั้งหมด ภาคเรียนปีการศึกษา 2563 เทอมที่ 2
ข้อมูลสถิติ : สานักงานบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

2.งานวิจัย
          การวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ปัจจุบันมีสานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร เป็นหน่วยงานหลักทาหน้าที่กำหนดแผนงาน และนโยบายการวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาฯ และปัญหาของเกษตรโดยตรงหรือจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมของรัฐ เพื่อนำมาทำการวิจัย ให้บริการเกี่ยวกับงานวิจัยแก่นักศึกษา บุคลากรและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งหน่วยงานหน่วยงานภายนอกเพื่อสนับสนุนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยฯ ตลอดจนประเมินผลและรวบรวมผลงานวิจัยเพื่อนำมาประยุกต์ในการแก้ปัญหาของเกษตรกรและส่งเสริมแก่เกษตรกรทั่วไป

โครงสร้างการบริหารงาน สานักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร

3.งานบริการสังคม

          มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการบริการวิชาการแก่สังคม โดยการจัดให้มีการฝึกอบรมสัมมนาเผยแพร่วิชากาารทั้งทางเอกสาร บทความ ตำรา หนังสือและการจัดนิทรรศการ และสื่ออนไลน์เกี่ยวกับด้านเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่อง

4.งานส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม

         มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมด้านการเกศตรมาโดยตลอด เช่น การอนุรักษ์ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมเกษตรไทยล้านนา โดยการสร้างพื้นที่เกษตรวิถีล้านนา บนพื้นที่ 35 ไร่ ภายในมหาวิทยาลัย เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมศิลปะด้านดนตรีและการแสดงต่างๆ 

บทที่ 3 แผนพัฒนาแม่บท ด้านการบริหารในมหาวิทยาลัยแม่โจ้

          สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เดิมเป็นสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาและวิจัย มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบารุงศิลปะวัฒนธรรม และตามมาตรา 7 มหาวิทยาลัยแบ่งส่วนราชการ ออกเป็น 7 ส่วนงาน ได้แก่ 1.สำนักงานสภามหาวิทยาลัย 2.สำนักงานมหาวิทยาลัย 3.คณะ 4.วิทยาลัย 5.สำนัก 6.หน่วยงานวิสาหกิจ และ 7.หน่วยงานอื่นๆในกกับ จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฏีกาการจัดตั้งส่วนงานราชการในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ.2540 ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจนุเบกษา เล่มที่ 114 ตอนที่ 19 ก หน้า 1 ลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ให้มีการจัดตั้งส่วนงานราชการในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกอบกับได้มีพระราชกฤษฏีกา จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550 ประกาศ ณ วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 51 ก ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550 ตามลำดับ และจัดตั้งเป็นสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 147 ง หน้า 23 ลงวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562 มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 2 โครงสร้างการบริหารและหน่วยงานมหาวิทยาลัยแม่โจ้

 

  • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกองกลาง

  • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกองการเจ้าหน้าที่

 

  • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกองการตรวจสอบภายใน

  • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกองการเทคโนโลยีดิจิทัล

  • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกองการพัฒนานักศึกษา

  • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในกองคลัง

  • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการสภาพนักงาน

  • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการฝ่ายสื่อสารองค์กร

  • โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการฝ่ายกฎหมาย

  • โครงสร้างหลักสูตรที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐานและอาคารสิ่งปลูกสร้าง

          ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานและอาคารสิ่งปลูกสร้างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปี พ.ศ.2563 ได้จากการสำรวจโครงสร้างกายภาพต่างๆซึ่งใช้อำนวยความสะดวกสาธารณะประโยชน์ภายในมหาวิทยาลัยฯ แก่นักศึกษาและบุคลากร รวมถึงประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เช่น ขอบเขตที่ดินมหาวิทยาลัย อาคารสิ่งปลูกสร้าง ระบบสัญจร ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบระบายน้ำ และระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีข้อมูลและรายละเอียดดังต่อไปนี้

4.1 ขอบเขต

          จากการสำรวจรังวัดแนวขอบเขตพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ประมาณ 776 – 1 – 84 ไร่ หรือประมาณ 1,242,331.79 ตารางเมตร

4.2 หมุดมาตรฐานผังบริเวณ

          การกำหนดหมุดมาตรฐานผังบริเวณให้ยึดถือตัวอาคารและสภาพเดิมที่เป็นจริง ในการกำหนดผังอาคาร สิ่งก่อสร้างและระดับ

4.3 อาคารและสถานที่

          ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีอาคารจานวนทั้งสิ้น 683 หลัง สามารถจำแนกประเภทอาคารแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.อาคารประเภทถาวร คสล. เป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่มีอายุการใช้งานเกิน 15 ปีขึ้นไป เช่น อาคารสำนักงาน อาคารเรียน อาคารศูนย์ประชุมและอาคารศูนย์กีฬา เป็นต้น 2.อาคารประเภทกึ่งถาวร เป็นอาคารขนาดเล็กที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 15 ปี วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างอาจเป็นวัสดุประเภทปูนหรือไม้ และ 3.อาคารประเภทชั่วคราว เป็นอาคารที่มีวัตถุประสงค์ที่สร้างสาหรับใช้งานในระยะเวลาอันจำกัดและวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นวัสดุประเภทที่ไม่คงทนถาวร เช่น ไม้เนื้ออ่อนหรือวัสดุอื่นๆที่สามารถรื้อถอนได้ง่าย

4.4 ระบบสัญจร

          ลักษณะรูปแบบการออกแบบวางผังระบบสัญจรภายในมหาวิทยาลัยเป็นระบบตารางกริดโดยมีศูนย์กลางหลักอยู่จุดศูนย์กลางของมหาวิทยาลัย ตรงบริเวณหน้าสนามกีฬาอินทนิลและอาคารศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติฯ ใช้ถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนอินทนิล ถนนพระพิรุณ ถนนราชพฤกษ์ และถนนเกษตรสนาน เป็นถนนแกนหลักในการเชื่อมต่อถนนสายรองที่ตัดกันเป็นตาราง ยกเว้นบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่ออกแบบเป็นระบบลูป (Loop) ซ้อนกัน 2 ชั้น ในลักษณะคล้ายส่วนวงแหวนเพื่อเลี่ยงศูนย์กลางของพื้นที่ ได้แก่ ถนนซอมพอ และถนนพิกุล โดยระบบสัญจรภายในมหาวิทยาลัย แบ่งออกได้ 3 ประเภท ได้แก่ ทางถนน ทางจักรยานและทางเท้า การเข้าถึงภายในมหาวิทยาลัย มีประตูทางเข้าและออกจานวนทั้งสิ้น 6 ประตู เชื่อมต่อถนนทางหลวงแผ่นดิน ดังนี้

ประตู 1 ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ถนนพระพิรุณ เชื่อมต่อถนนอินทนิลและใช้เป็นเส้นทางเข้า – ออก เชื่อมต่อถนนทางหลวงแผ่นดิน สายเชียงใหม่ – พร้าว

ประตู 2 ทิศตะวันตก ได้แก่ ถนนราชพฤษ์ เชื่อมต่อถนนอินทนิลและใช้เป็นเส้นทางเข้า – ออก เชื่อมต่อถนนทางหลวงแผ่นดิน สายเชียงใหม่ – พร้าว

ประตู 3 ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ ถนนเกษตรสนาน เชื่อมต่อถนนอินทนิลและใช้เป็นเส้นทางเข้า – ออก เชื่อมต่อถนนทางหลวงแผ่นดิน สายเชียงใหม่ – พร้าว และเชื่อมต่อถนนทางหลวงชนบทชุมชนบ้านโปง

ประตู 4 ทิศเหนือ ได้แก่ ถนนเกษตรสนาน เชื่อมต่อถนนอินทนิลและใช้เป็นเส้นทางเข้า – ออก ทางถนนทางหลวงชนบทชุมชนบ้านโปงและเชื่อมต่อถนนทางหลวงแผ่นดิน สายเชียงใหม่ – พร้าว

ประตู 5 ทิศใต้ ได้แก่ ถนนอินทนิล เป็นถนนสายหลักเชื่อมต่อถนนพระพิรุณ ถนนราชพฤกษ์ และถนนเกษตรสนานและใช้เป็นเส้นทางเข้า – ออก เชื่อมต่อถนนทางหลวงแผ่นดิน สายเชียงใหม่ – สันทราย

ประตู 6 ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ถนนสารภี เป็นถนนสายรองเชื่อมต่อถนนอินทนิล ซอย 1 (เลื่อน เมฆบังวัน) และใช้เป็นเส้นทางเข้า – ออก เชื่อมต่อถนนทางหลวงแผ่นดิน สายเชียงใหม่ – สันทราย

4.5 ทางถนน

          การวางผังโครงข่ายถนนในมหาวิทยาลัยค่อนข้างดี สามารถเข้าถึงพื้นที่ต่างๆได้สะดวก มีเส้นทางเชื่อมต่อถนนหลักและกลุ่มอาคารโดยครอบคลุมบริเวณมหาวิทยาลัย

ลักษณะพื้นผิวและถนนภายในมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ถนนคอนกรีต (Rogid Pavement) และถนนลาดยางแอสฟัลต์คอนกรีต (Asphalt Concrete Pavement) การออกแบบถนนแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

ประเภทที่ 1 ถนนมีเกาะกลางแยกทางจราจรพร้อมทั้งมีทางแยกจักรยานรวมพื้นที่ขอบทางกว้าง 14.00 เมตร ได้แก่ ถนนพระพิรุณ

ประเภทที่ 2 ถนนไม่มีเกาะกลาง พร้อมทั้งมีทางแยกสาหรับจักรยานรวมพื้นที่ขอบทาง 8.50 เมตร ได้แก่ ถนนอินทนิล

ประเภทที่ 3 ถนนไม่มีเกาะกลาง ผิวจราจรกว้าง 6 เมตร ได้แก่ ถนนเกษตรสนานและถนนเชื่อมต่อถนนสายหลักและสายรองภายในมหาวิทยาลัย

4.6 ทางจักรยาน

          เส้นทางจักรยานมีลักษณะการออกแบบขนานไปตามแนวสองฝั่งถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนอินทนิล ถนนพระพิรุณ และถนนราชพฤกษ์ ผ่านกลุ่มอาคารเรียน อาคารสำนักงานและกลุ่มอาคารศูนย์กีฬา โดยแบ่งเส้นทางออกจากทางถนนและแบ่งเขตสีพื้นผิวจราจรชัดเจน รวมถึงมีป้ายสัญลักษณ์ทางจักรยานกากับตลอดเส้นทาง

4.7 ทางเท้า

          ทางเท้าภายในมหาวิทยาลัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทางเท้ามีหลังคา (Covered Way) และทางเท้าไม่มีหลังคา ลักษณะการออกแบบทางเท้าขนานไปตามแนวถนนเชื่อมต่ออาคารหอพักนักศึกษา อาคารเรียน สำนักงาน และอาคารศูนย์กีฬา

4.8 ที่จอดรถ

          ทางมหาวิทยาลัยได้จัดพื้นที่จอดรถเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาและบุคลากร รวมถึงประชาชนทั่วไปที่เข้ามาใช้บริการคลอบคลุมตามจุดต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ลักษณะที่จอดรถ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่จอดรถแบบมีหลังคาคลุม ประเภทที่จอดรถแบบพื้นที่เปิดโล่ง และประเภทที่จอดรถแบบใต้อาคาร พื้นผิวที่จอดรถเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก บางส่วนเป็นแอสฟัลติคคอนกรีต และบางส่วนเป็นบล็อคประดับ ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่

4.9 ระบบไฟฟ้า

          ระบบไฟฟ้าภายในมหาวิทยาลัย รับกระแสไฟฟ้าแรงดันสูง 22,000 โวลท์ 3 เฟส จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ่ายไปยังบริเวณภายในผ่านหม้อแปลงลดแรงดันเป็น 380/220 โวลท์ 3 เฟส เพื่อจ่ายเข้าอาคารไปยังบริเวณและพื้นที่อื่นๆใกล้เคียง ในส่วนของการส่องสว่างพื้นที่เปิดโล่งภายในมหาวิทยาลัย ในเวลากลางคืนได้ติดตั้งเสาไฟถนนกิ่งขนานตามแนวถนนสายหลัก สายรอง โดยครอบคลุมพื้นที่บริเวณมหาวิทยาลัยทั้งหมด

4.10 ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

          ปัจจุบันมหาวิทยาลัย ได้ทาการติดตั้งจุดให้บริการสัญญาณระบบเครือข่ายอินเตอร์ โดยครอบคลุมพื้นที่มหาวิทยาลัย และมีบริษัทเอกชนที่ได้ทาข้อตกลงความร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัย ได้แก่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) ในการติดตั้งระบบเครือข่ายสัญญาณอินเตอร์เน็ต เพื่อบริการอำนวยความสะดวก แก่นักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย

4.11 ระบบประปา

          ระบบประปาของมหาวิทยาลัยมีโรงประปาตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ และมีอ่างเก็บน้ำ ใช้สำหรับการผลิตและจ่ายน้ำดิบ โดยระบบท่อส่งน้ำเป็นแบบท่อ PVC ขนาดต่างๆตามความเหมาะสม การออกแบบวางแนวท่อส่งน้ำได้วางผังแนวท่อส่งน้ำขนานตามแนวถนนสายหลัก สายรอง ไปยังอาคารสถานที่และจุดต่างๆครอบคลุมพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย

4.12 ระบบบาบัดน้ำเสีย

          ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีโรงบาบัดน้ำเสียตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ติดกับโรงประปามหาวิทยาลัย โดยนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วปล่อยไปยังจุดต่างๆของมหาวิทยาลัย โดยจะมีวาล์วติดตั้งตามแนวท่อริมถนน รวมทั้งหมด 10 จุด เพื่อใช้ประโยชน์ในการรกน้ำต้นไม้และสนามหญ้า และการต่อท่อน้ำทิ้งผ่านการบำบัดไปยังสระน้ำ 3 จุด คือ สระน้ำของสาขาพืชผัก สระน้ำตรงสวนพรพิรุณ และสระเก็บน้ำใต้ดินของสนามกีฬาอินทนิล เพื่อใช้ประโยชน์ในการรดพืชผักและสนามหญ้า

4.13 ระบบระบายน้ำ

          ระบบระบายน้ำของมหาวิทยาลัย เป็นแบบระบบรวม คือ ระบายน้ำทิ้งจากอาคารรวมกับน้ำฝนอยู่ในท่อเดียวกันหรือรางระบายน้ำเดียวกัน น้ำทิ้งจากอาคารและน้ำฝนระบายลงคลองชลประทานข้างถนนภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งคลองชลประทานผ่านพื้นที่ของมหาวิทยาลัย น้ำในคลองชลประทานใช้ในการเกษตรของมหาวิทยาลัย และเกษตรกรบริเวณใกล้เคียง ความลาดของคลองชลประทานจากทางทิศเหนือไปทางทิศใต้ และจากทางทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก สภาพคลองชลประทาน ส่วนที่อยู่บริเวณข้างเคียงอาคารมีการคาด ค.ส.ล.

ภาพที่ 1 ผังแสดงแนวขอบเขตมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาพที่ 2 ผังมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาพที่ 3 ผังอาคารสถานที่แสดงการแบ่ง Block ย่อย มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาพที่ 4 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 01

ตารางที่ 3 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 01

  

ภาพที่ 5 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 02

ตารางที่ 4 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 02

ภาพที่ 6 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 03

ตารางที่ 5 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 03

ภาพที่ 7 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 04

ตารางที่ 6 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 04

ภาพที่ 8 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 05

ตารางที่ 7 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 05

ภาพที่ 9 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 06

ตารางที่ 8 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 06

ภาพที่ 10 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 07

ตารางที่ 9 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 07

ภาพที่ 11 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 08

ตารางที่ 10 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 08   

ภาพที่ 12 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 09

ตารางที่ 11 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 09

ภาพที่ 13 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 10

ตารางที่ 12 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 10

ภาพที่ 14 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 11

ตารางที่ 13 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 11

ภาพที่ 15 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 12

ตารางที่ 14 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 12

ภาพที่ 16 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 13

ตารางที่ 15 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 13

ภาพที่ 17 ผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 14

ตารางที่ 16 รายการผังอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Block 14

ภาพที่ 18 ผังโครงข่ายถนน มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ตารางที่ 17 รายการแสดงข้อมูลถนน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

                                              

  

ภาพที่ 19 ผังโครงข่ายทางเท้า มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาพที่ 20 ผังโครงข่ายทางจักรยาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาพที่ 21 ผังที่จอดรถ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาพที่ 22 ผังระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาพที่ 23 ผังระบบประปา มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ภาพที่ 24 ผังระบบระบายน้ำบนดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้

บทที่ 5

สภาพทางภูมิศาสตร์และสภาพแวดล้อมมหาวิทยาลัยแม่โจ้

5.1 สภาพทางภูมิศาสตร์มหาวิทยาลัย

5.1.1 ที่ตั้ง

          ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งอยู่เลขที่ 63 หมู่ 4 ตาบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ถนนเชียงใหม่ – พร้าว รหัสไปรษณีย์ 50290 ตำแหน่งพิกัดระบบ UTM WGS84 ที่ 501322.27 ตะวันออก 2089343.48 เหนือ มีพื้นที่ประมาณ 776.46 ไร่ หรือประมาณ 1,242,331.79 ตารางเมตร

5.1.2 อาณาเขตติดต่อ

          ทิศเหนือ ติดต่อกับ สถานที่ราชการ ได้แก่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าจืดเขต 1 เชียงใหม่

          ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนสหกรณ์นิคม 1 และชุมชนสหกรณ์นิคม 2

          ทิศตะวันออก ติดต่อกับ คลองชลประทาน

          ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนแม่โจ้และชุมชนทุ่งหมื่นน้อย

5.1.3 สภาพภูมิประเทศ

          ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบน้าท่วมถึง มีความสูงจากระดับน้าทะเลปานกลางประมาณ 324 – 330 เมตร ระดับพื้นผิวดินมีลักษณะลาดเอียงลงมาทางทิศตะวันตก สภาพดินโดยรวมมีลักษณะเป็นดินร่วนและดินร่วนป่นทราย พื้นที่เหมาะสาหรับทาเกษตรกรรม มีแหล่งน้ำที่สำคัญไหลผ่าน ได้แก่ แม่น้าห้วยโจ้

5.1.4 สภาพภูมิอากาศ

          ลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู ตามลักษณะภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว โดยในช่วงฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หย่อมกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนเริ่มปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดในช่วงบ่าย ในช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน และในช่วงฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ส่งผลให้มีอากาศเย็นโดยทั่วไปกับมีอากาศหนาวจัดในช่วงเช้าและช่วงเวลากลางคืน

5.2 สภาพแวดล้อมชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย

          สภาพแวดล้อมชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย จัดอยู่ในลักษณะเป็นชุมชนชนบทกึ่งเมืองพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ด้านความหนาแน่นในเขตที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง ความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่อยู่บริเวณย่านพาณิชยกรรมโดยมีลักษณะเกาะกลุ่มอยู่บริเวณด้านทิศใต้และทิศตะวันตกตามแนวแกนถนนสายหลักและถนนสายรองของมหาวิทยาลัย การประกอบธุรกิจย่านพาณิชยกรรม ได้แก่ ธนาคาร ร้านอาหาร ตลาด ร้านขายยา ร้านขายอุปกรณ์การเรียนเครื่องเขียน ร้านซ่อมรถ คลินิก ร้านเสริมสวย ร้านวัสดุก่อสร้าง ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้า และปั๊มน้ามัน เป็นต้น

5.2.1 สถานที่ราชการบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัย

          หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรแม่โจ้ ที่ทาการเทศบาลเมืองแม่โจ้ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้าจืด เขต 1 เชียงใหม่ ศูนย์รวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมหม่อนไหม กรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน

          สถานศึกษา ได้แก่ โรงเรียนสันทรายวิทยาคม โรงเรียนบ้านแม่โจ้ โรงเรียนแม่แก้ดน้อย โรงเรียนบ้านโปง

          สถานพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลสันทราย

5.2.2 ด้านการประกอบอาชีพ

          ประชากรส่วนใหญ่บริเวณชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทาไร่ ทานา ทาสวน เพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์รวมถึงเพาะเลี้ยงปลา และอาชีพนอกภาคเกษตร ได้แก่ ช่างฝีมือ ช่างไม้ ช่างปูน อุตสาหกรรมในครัวเรือน ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป เป็นต้น

5.2.3 ด้านศาสนา

          ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามตามลาดับ

5.2.4 ด้านการคมนาคม

          การคมนาคมระหว่างตัวเมืองเชียงใหม่กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถเดินทางได้เพียงทางเดียว คือ ทางถนน ซึ่งที่ตั้งหมาวิทยาลัยอยู่ทางทิศเหนือของตัวอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีระยะทางห่างกันประมาณ 15 กิโลเมตร การเข้าถึงพื้นที่แบ่งได้เป็น 2 เส้นทาง ได้แก่ ถนนสายหลักและถนนสายรอง

          ถนนสายหลัก (ถนนเชียงใหม่ – พร้าว) คือ ถนนทางหลวงชนบท หมายเลข 1001 เชื่อมต่อตามแนวทิศเหนือ – ใต้ ระหว่างสามแยกฟ้าฮ่ามที่แยกมาจากถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 11 มุ่งขึ้นทางทิศเหนือไปอำเภอพร้าว

          ถนนสายรอง (ถนนเชียงใหม่ – สันทราย) คือ ถนนทางหลวงชนบท หมายเลข 1367 เชื่อมต่อตามแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ – ตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างกาดสามแยกมุ่งขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางอำเภอสันทราย

5.2.5 ด้านสาธารณูปโภค

          ไฟฟ้าเข้าถึงทุกตาบล เป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนประปาใช้ระบบประปาหมู่บ้าน และประปาภูเขา

5.3 สภาพทางภูมิศาสตร์อำเภอสันทราย

5.3.1 ที่ตั้ง

          อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ประมาณ 318,020 ตารางกิโลเมตร

5.3.2 อาณาเขตติดต่อ

          ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอแม่แตง

          ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอสันกาแพงและอำเภอเมืองเชียงใหม่

          ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอดอยสะเก็ด

          ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอเมืองเชียงใหม่

5.3.3 สภาพภูมิประเทศ

          ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอสันทราย ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของภูเขาและที่ราบสูง มีลักษณะพื้นที่ลาดเอียงลงมาทางทิศตะวันตกกับทิศใต้ของอำเภอเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองชลประทานแม่แฝกผ่ากลางพื้นที่ สภาพท้องที่ของอำเภอโดยทั่วไปเหมาะแก่การทาเกษตรกรรม ได้แก่การเพาะปลูก เช่น ทานา ปลูกพืช และทาสวนผลไม้

5.3.4 สภาพภูมิอากาศ

          ลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู ตามลักษณะภูมิอากาศทั่วไปของประเทศไทย ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว โดยในช่วงฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หย่อมกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนเริ่มปกคลุมประเทศไทยตอนบน ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดในช่วงบ่าย ในช่วงฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงกลางเดือนตุลาคม โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้พัดผ่าน และในช่วงฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยได้รับอิทธิพลจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ส่งผลให้มีอากาศเย็นโดยทั่วไปกับมีอากาศหนาวจัดในช่วงเช้าและช่วงเวลากลางคืน

5.3.5 ลำน้ำที่สำคัญ

          ในพื้นที่อำเภอสันทรายมีลาน้าไหลผ่าน คือ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้าปิงไหลผ่าน เป็นเขตติดต่อระหว่างอำเภอสันทราย อำเภอแม่แตงและอำเภอแม่ริม และตั้งแต่ทิศเหนือตลอดลงมาทางทิศใต้มีคลองชลประทานผ่านกลางพื้นที่อำเภอ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มีลาน้ากว้างไหลผ่านท้องที่ตาบลหนองแหย่ง ตาบลเมืองเล็น ตาบลสันป่าเปาและตาบลสันนาเม็ง

5.3.6 ห้วย หนอง คลอง บึง

          ห้วย หนอง คลอง บึง รวมแล้วมีพื้นที่ประมาณ 388 ไร่

5.3.7 ทรัพยากรธรรมชาติ

          ป่าไม้จัดว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติแต่มีไม่มากนัก พื้นที่ส่วนใหญ่ของอำเภอสันทรายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและเป็นพื้นที่อยู่อาศัย

5.3.8 ด้านการปกครอง

          ด้านการปกครองส่วนภูมิภาคและการปกครองส่วนทิ้งถิ่นของอำเภอสันทรายมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

5.3.9 จานวนประชากรอำเภอสันทราย

          ข้อมูลจากสานักงานสถิติแห่งชาติ ปี .ศ. 2559 พบว่า จานวนประชากรจากการทะเบียน พบว่า อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีประชากรทั้งสิ้น 105,948 คน จำแนกเป็นเพศชาย จานวน 60,701 คน และเพศหญิง จานวน 70,713 คน

ที่มา : http://chiangmai.old.nso.go.th/nso/project/search/result_by_department.jsp

5.3.10 ด้านการประกอบอาชีพ

          ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก เช่น การทานา ทาสวนผลไม้ และเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตทางเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ส่วนอาชีพรองซึ่งเป็นอาชีพนอกภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ช่างฝีมือ ช่างไม้ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป เป็นต้น

5.3.11 ด้านการท่องเที่ยว

          สถานที่สำคัญด้านการท่องเที่ยวในท้องที่อำเภอสันทราย ยังไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

5.3.12 ด้านศาสนา

          ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามตามลาดับ

5.3.13 ด้านสาธารณูปโภค

          ไฟฟ้ามีทุกตาบล เป็นของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนประปาใช้ระบบประปาหมู่บ้าน และประปาภูเขาบางพื้นที่

ภาพที่ 25 ภาพถ่ายทางอากาศ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ พ.ศ.2563

บทที่ 6 สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม

          การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อให้มองเห็นถึงภาพรวมของบริบทที่เปลี่ยนแปลงสภาวะเศรษฐกิจ และสังคมของโลกและบริบทที่ เปลี่ยนแปลงในระดับชาติในปัจจุบันที่ส่งผลต่อมหาวิทยาลัยในการพัฒนามหาวิทยาลัย และการปรับปรุงผังแม่บทมหาวิทยาลัย โดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้

6.1 บริบทภายนอกประเทศ

          6.1.1 เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจโลก

           1.) การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก

            การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจโลกประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจการเงินที่เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวช้าและเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปสำหรับในระยะ 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มขยายตัวต่ำ และมีความเสี่ยงจากการผันผวนในระบบเศรษฐกิจและการเงินโลกในเกณฑ์สูง

          2.) การแข่งขันในตลาดการค้าโลก

          การแข่งขันในตลาดการค้าโลก รูปแบบการค้ามีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปสู่การค้าเสรีมากขึ้น และมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่หลากหลายขึ้น โดยเฉพาะการแข่งขั้นในภาคการท่องเที่ยวโลกมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมการเดินทางที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็วทั้งการเคลื่อนย้ายผู้คนได้อย่างเสรีภายใต้ข้อตกลงต่างๆ การเดินทางที่สะดวกและมีทางเลือกมากขึ้น

                6.1.2 การเปิดเสรี

          การเปิดเสรี การเปิดเสรีภายใต้ข้อตกลงเขตเศรษฐกิจอาเซียนใน ปี พ.ศ. 2558 จะนำมาซึ่งโอกาส และข้อจำกัดที่สำคัญหลายประการอาทิ การลดข้อจำกัดในด้านอุปสงค์ในประเทศ ซึ่งทำให้ภาคการผลิตสามารถขยายตลาดและพัฒนาตนเองให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น และการใช้ปัจจัยการผลิตและแรงงานที่สามารถเคลื่อนย้ายอย่างเสรี รวมทั้งการใช้ความได้เปรียบด้านการค้า การลงทุน การเงิน การบริการและการผลิตภาคอุตสาหกรรม 

          นอกจากนี้ ตลาดการเงินของโลกมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น และเข้าสู่ช่วงการเปิดเสรีภาคการเงินของกลุ่มประเทศอาเซียน ประกอบกับการมีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการเงินอย่างรวดเร็วจะทำให้การแข่งขันในภาคการเงินรุนแรงขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก

          6.1.3 ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์

          ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้ รวมถึงกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งความตึงเครียดของความ ขัดแย้งระหว่างประเทศคู่กรณีหลักอาทิ จีน เวียดนาม ใต้หวัน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น รวมถึงสหรัฐอเมริกา ในฐานะคนกลาง ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอาเซียน นอกจากนี้ ความร่วมมือและรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจากปัจจัยสนับสนุนทางด้านภูมิศาสตร์ยังทำให้เกิดอำนาจต่อรองทางการเมืองและเศรษฐกิจ ประเทศต้องปรับตัวเพื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขและกฎระเบียบสากล ดังนั้น ประเทศมหาอำนาจพยายามเข้ามามีอิทธิพลและถ่วงดุลอำนาจด้านความมั่นคงด้านกำลังทหารในภูมิภาคแถบนี้ และประเทศไทยมีทำเลที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลาง จึงให้ความสำคัญกับไทยในฐานะหุ้นส่วนสำคัญในภูมิภาคอาเซียน

          6.1.4 การเข้าสู่สังคมสูงวัยของโลก

          องค์การสหประชาชาติประเมินสถานการณ์ว่าช่วงปี พ.ศ. 2544 – 2643 จะเป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ โดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจะมีระยะเวลาเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าวค่อนข้างสั้นกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ส่งผลให้มีการขาดแคลนแรงงานในประเทศ และมีการเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวมากขึ้น

          6.1.5  เทคโนโลยี/นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

            1.) รูปแบบการผลิต การค้า และบริการสร้างสรรค์ที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์ในเชิงบวกจะเกิดวัฒนธรรมใหม่ที่ทำให้คน และสังคมสามารถปรับตัวให้เข้ากับกระแสใหม่ๆของโลกได้

            2.) ภาคบริการต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

          3.) รูปแบบการดำเนินชีวิต การทำงานและความสัมพันธ์ของคนในสังคมตลอดจนความซับซ้อนของปัญหาทางสังคมที่จะตามมา การพึ่งพากันของทุกคนในชุมชนน้อยลงระยะห่างระหว่างผู้คนเพิ่มขึ้น ความอดกลั้นและความผูกพันในครอบครัวลดลง การเคลื่อนไหวของกระแสวัฒนธรรมโลกส่งผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ต่อสังคมไทย กล่าวคือ ถ้าคนไทยปล่อยให้ค่านิยมทางจริยธรรมถูกผสมผสานกับแนวคิดกระแสวัฒนธรรมโลกที่มุ่งในวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจจะทำให้สังคมไทยขาดจิตสำนึกพลเมือง และเป็นสังคมที่เอารัดเอาเปรียบ แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าคนไทยสามารถผสมผสานค่านิยมทางจริยธรรมกับแนวคิดกระแสวัฒนธรรมโลกอื่นๆ ที่เป็น ประโยชน์จะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมได้

          6.1.6 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยธรรมชาติที่มีความผันผวนและรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบและกดดันให้ต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการผลิต และพฤติกรรมการบริโภค ความตระหนักในระดับนานาชาติผลักดันให้ประเทศต่างๆ ต้องดำเนินการตามข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศประเทศไทยจึงต้องเร่งเตรียมความพร้อมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และกำหนดกฎระเบียบในเรื่องการจัดการของเสียภาคอุตสาหกรรมให้มีความชัดเจน และบังคับใช้ให้เกิดผลในด้านการบริโภคก็มีความตื่นตัว และตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การบริโภคสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างวงกว้างขึ้นในอนาคต

          6.1.7 วาระการพัฒนาของโลกภายหลัง ค.ศ. 2015

          การกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกในอีก 15 ปี มีการจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal : SDGs) ประกอบด้วย 17 เป้าหมายและ 169 เป้าประสงค์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อแนวทางการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสสาหรับประเทศไทยจะพัฒนากลไกดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ภายในประเทศให้เกิดการบูรณาการไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก และแนวทางการพัฒนาภายในประเทศไปพร้อมๆกัน

6.2 บริบทที่สำคัญภายในประเทศ

          6.2.1 ด้านสังคม

          1.) รายได้ที่เหลื่อมล้ำ

          ความยากจนยังมีแนวโน้มลดลง แต่ความเหลื่อมล้ายังเป็นปัญหาสำคัญที่นำไปสู่ความขัดแย้งในสังคม โดยที่บริบทการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากร และโครงสร้างเศรษฐกิจอาจส่งผลให้ปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้าที่มีความรุนแรงขึ้น ขณะที่แนวโน้มของความเหลื่อมล้าระหว่างแรงงานที่มีภาระสูงและทักษะต่ำจะยิ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากความแตกต่างกันทางด้านรายได้

          2.) ปัญหาเชิงคุณภาพด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม

          คนไทยมีโอกาสได้รับการศึกษาเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังมีปัญหาคุณภาพการศึกษาขณะที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสาร และการขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจ และสังคมดิจิทัล และคนไทยมีสุขภาวะที่ดีขึ้น แต่การเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ และปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

          6.2.2 สังคมสูงวัย

          โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย แต่ยังมีปัญหาทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพของประชากรในทุกช่วงวัยในขณะที่ครัวเรือนโดยเฉลี่ยมีขนาดลดลง และมีรูปแบบที่หลากหลายนอกจากนี้ โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไป ทำให้คนในวัยศึกษาน้อยลง และคนสูงอายุเพิ่มมากขึ้น 

                                                    

6.2.3 ความเสื่อมถอยทางวัฒนธรรม

          สังคมไทยกาลังประสบกับปัญหาวิกฤติจากการที่มีค่านิยมเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสวัฒนธรรมต่างชาติที่หลากหลาย เนื่องจากขาดทักษะการคิด วิเคราะห์ ไม่สามารถคัดกรองและเลือกรับวัฒนธรรมที่ดี เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมและพฤติกรรมให้สามารถปรับตัวเข้ากับกระแสใหม่ของโลกได้

          6.2.4 ชุมชนเข้มแข็งช่วยเหลือตนเองได้ดี

          ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถแก้ปัญหา และสนองตอบความต้องการของชุมชนด้วยตนเองได้ดีขึ้น

          6.2.5 ด้านเศรษฐกิจ

          1.) ตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศไทยในเวทีโลก

          ประเทศไทยในภูมิทัศน์ใหม่ของโลกมีตำแหน่งเชิงยุทธศาสตร์บนเวทีโลก อยู่ในตำแหน่ง “โลกที่สาม” ร่วมกับเวียดนาม จีน และอินเดีย เป็นสถานะปานกลางทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง คือ ระหว่างการเติบโตอย่างมีเสรีภาพ (เศรษฐกิจ) – สังคม ประชาธิปไตยการเมืองมีเสถียรภาพ (การเมือง) กับความเปราะบางอ่อนไหว ไร้เสถียรภาพ (เศรษฐกิจ) – ความแตกแยกวุ่นวาย ไร้เสถียรภาพ (การเมือง)

                                                  

2.) กับดักประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง

          ประเทศต้องเผชิญกับดักประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง และกับดักความเหลื่อมล้ำส่วนประเด็นท้าทายในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศ คือ การเปลี่ยนแปลงสถานะจากประเทศรายได้ปานกลาง (ความมั่งคั่งกระจุก) ไปเป็นประเทศรายได้สูง (ความมั่งคั่งกระจาย)

                                                     

3.) ความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง

          อันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดยรวม อยู่ในอันดับที่ 30 จาก 60 ประเทศชั้นนำในขณะที่มาเลเซีย อยู่อันดับที่ 14 และสิงคโปร์อันดับ 3 โดยสมรรถนะทางเศรษฐกิจ และประสิทธิภาพเอกชนอยู่ในอันดับที่ดีในขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษาอยู่ในอันดับที่ไม่ดี

                                                   

6.2.6 ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

          1.) ภาวะโลกร้อน

          ภาวะโลกร้อน เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายชีวภาพก่อให้เกิดวิกฤติน้ำ และการเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงมากขึ้น ทำให้ประเทศไทยต้องพัฒนายกระดับการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพเพื่อรับมือกับวิกฤติที่เกิดขึ้น

          2.) การใช้ทุนทรัพยากรเกินกว่าศักยภาพในการฟื้นตัวของระบบนิเวศ

          การใช้ทุนทรัพยากรเกินกว่าศักยภาพในการฟื้นตัวของระบบนิเวศ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชน ทำให้เกิดกระแสอนุรักษ์ในสังคม ความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น รัฐจะต้องมีกลไกจัดการความขัดแย้ง สร้างธรรมาภิบาลและความเป็นธรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

          3.) การบริหารจัดการน้ำ ทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพยังขาดประสิทธิภาพ

         การบริหารจัดการน้ำ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพยังขาดประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำ ระบบนิเวศลุ่มน้ำเสื่อมโทรม และภาวะขาดแคลนน้ำในอนาคตจะเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จำเป็นต้องพัฒนากลไกการบริหารจัดการและให้มีการจัดการทั้งด้านอุปสงค์ และอุปทานเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต

          4.) ปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม

         ปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบทั้งด้านคุณภาพชีวิตสุขภาพอนามัยของประชากร และมีต้นทุนทางเศรษฐกิจในการจัดการแก้ไข ซึ่งจะเป็นปัญหาหลักของเมืองที่มีความเจริญอย่างรวดเร็วในอนาคต จำเป็นต้องมีการวางแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

          6.2.7 ด้านการบริหารจัดการ และการปรับปรุงประสิทธิภาพกลไกการพัฒนา

          1.) ด้านธรรมาภิบาล

          ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องธรรมาภิบาลอย่างเร่งด่วน เนื่องจากสถานการณ์วิกฤติคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลของสังคมไทยและบริษัทจดทะเบียนไทยให้ความสำคัญในการพัฒนาการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน

          2.) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ และการกระจายอำนาจ

          การบริหารจัดการภาครัฐมีการปรับปรุงตามยุคสมัย มีการจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่เหมาะสมยิ่งขึ้น และการกระจายอำนาจเกิดผลสำเร็จหลายด้านแต่ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไข เช่น การทับซ้อนของอำนาจหน้าที่ และเขตพื้นที่ และการขาดแคลนรายได้ของ อปท. เป็นต้น

          3.) ด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น

          ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย และผลประโยชน์ทับซ้อนเป็นอย่างมาก

          6.3 สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย

          มหาวิทยาลัยต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งสภาพแวดล้อมที่สำคัญซึ่งมีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

          6.3.1 จำนวนนักศึกษาลดลง

          ประเทศไทยมีแนวโน้มของโครงสร้างประชากรคล้ายคลึงกับยุโรป แม้ว่ามีจานวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลง โดยโครงสร้างประชากรวัยเด็กมีจำนวนลดลง จากร้อยละ 21.6 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นร้อยละ 17.2 ในปี พ.ศ. 2580 อัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากปี พ.ศ. 2513 รัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนวางแผนครอบครัวโดยสมัครใจ ดังนั้นตลอดระยะเวลา 30 กว่าปีที่ผ่านมา อัตราการเจริญพันธุ์จากที่เคยสูงถึง 6 – 7 คน ลดลงเหลือเพิ่มเพียง 1.7 คน (2548) ซึ่งเป็นภาวะเจริญพันธุ์ที่ต่ำกว่าระดับทดแทน และคาดว่าอัตราการเกิดจะมีแนวโน้มลดลงอีก ในขณะเดียวกันประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเพิ่มในอัตราที่สูงขึ้น จากร้อยละ 8.2 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นร้อยละ 15.6 ในปี พ.ศ. 2580 ซึ่งในอนาคตประเทศไทยจะก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในที่สุด

            ผลกระทบต่อสถาบันการศึกษา จากอัตราการเกิดที่ลดลงอัตราการเกิดที่ลดลง อาจจะส่งผลกระทบต่อสถาบันการศึกษาในอนาคต เพราะโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต้องอาศัยนักเรียนนักศึกษาในจานวนที่มากพอในการดำเนินกิจการ หากอัตราการเกิดน้อยลงสถาบันการศึกษาที่จะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก คือ โรงเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และต่อมาคือมหาวิทยาลัย

          นวนในอนาคต จำนักเรียนนักศึกษามีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้มหาวิทยาลัยต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งนักศึกษา หากสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งมีความคล้ายคลึงกันหมด นักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ย่อมเลือกเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีความโดดเด่น เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฯลฯ เพราะเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับกันโดยทั่วไปว่า มีคุณภาพในด้านวิชาการและมีชื่อเสียงสะสมยาวนาน ดังนั้น จำนวนนักเรียนนักศึกษาที่มีแนวโน้มลดน้อยลงนี้อาจส่งผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยที่ยังไม่มีชื่อเสียงมากนัก หรือเป็นมหาวิทยาลัยเปิดใหม่เพราะนักเรียนนักศึกษาอาจไม่เลือกเรียน จนประสบปัญหามีจานวนนักศึกษาไม่เพียงพอ

          6.3.2 พฤติกรรมของคนยุคใหม่

          คนยุคใหม่ หรือ Gen Y และ Gen Z มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันดังนี้ คือเป็นคนที่ใช้ชีวิตอยู่บนออนไลน์ ชอบแสดงความคิดเห็น และแบ่งปันข้อมูลข่าวสารกับผู้คน ไม่ชอบเป็นเพียงผู้รับข่าวสาร ชอบเรียนรู้ด้วยการแบ่งปันประสบการณ์กับเพื่อน พร้อมที่จะสื่อสารกัน 24/7 ข้อความที่ใช้มีลักษณะตรงประเด็นและสั้น มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีใหม่ได้เร็วกว่าคนรุ่นก่อนมาก ปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้ดี ทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน และชอบความท้าทายใหม่ๆ แต่ไม่ถนัดในการสื่อสารแบบพบหน้ากัน และการกระทำดังกล่าวส่งผลให้เป็นคนสมาธิสั้น จึงไม่ชอบการอ่าน การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่ยากและซับซ้อน                       

       ลักษณะดังกล่าวเป็นผลจากการที่เด็กเติบโตขึ้นมาในช่วงเวลาที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีความก้าวหน้ามากขึ้น จนทำให้โลกมีความเป็นโลกาภิวัตน์อย่างสมบูรณ์ ประกอบกับวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไป โอกาสที่เด็กจะได้พบหน้าพ่อแม่ หรือได้ออกไปเล่นนอกบ้านกับเพื่อน เช่น เด็กในยุคก่อนมีไม่มากนัก แต่จะมีของเล่นดิจิทัลนานาชนิดเข้ามาแทนที่ รวมทั้งอุปกรณ์ประเภทวิดีโอเกมส์ Tablet โทรศัพท์มือถือซึ่งเชื่อมโยงเด็กเข้ากับโลกกว้างได้ในพริบตาเพียงใช้ปลายนิ้วสัมผัส

            ประเด็นสำคัญสำหรับสถาบันอุดมศึกษา คือ ปัจจุบันนักศึกษาครั้งหนึ่งเป็น คนยุค Gen Y และอีกครึ่งหนึ่งเป็นคนยุค Gen Z (เข้ามาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในปี 2014) ซึ่งคำถามสำคัญสำหรับผู้ที่เป็นอาจารย์ก็คือ “จะจัดการเรียนการสอนสำหรับคนเหล่านี้อย่างไร จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้สิ่งที่เป็นคุณลักษณะเด่นเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างไร” และในอีกด้านหนึ่ง “จะแก้ไขปรับปรุงลักษณะบางประการที่เป็นอุปสรรคของการเรียนรู้ได้อย่างไร เพื่อให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีที่สุดทั้งสำหรับตัวผู้เรียนเอง และต่อสังคม

          6.3.3 มาตรฐานการศึกษา

        สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาคุณภาพของการบริหารจัดการ และการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและสร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโดยถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาได้มีการปรับปรุงมาอย่างต่อเนื่องตามความรู้ และทักษะในอนาคตที่ตลาดแรงงานต้องการ และพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมาตรฐานการศึกษาถือเป็นกลไกสำคัญสู่การพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานของอุดมศึกษาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

          6.3.4 การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับ

          มหาวิทยาลัยของไทยเป็นศูนย์รวมมันสมองของชาติ องค์ความรู้ งานวิจัยต่างๆ มากมายแต่จุดด้อยของระบบมหาวิทยาลัยไทย คือ การบริหารงานและบริหารบุคลากรที่ยังอยู่ในกรอบของระเบียบราชการ ก่อให้เกิดความล่าช้าในการบริหาร และการปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยให้ทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันกับมหาวิทยาลัยทั่วโลกได้

     ทั้งนี้ ถ้าจะให้ประเทศไทยพัฒนาอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยของรัฐจะต้องปรับเปลี่ยนบทบาท โดยเฉพาะจะต้องมีความคล่องตัวในด้านการบริหารองค์กร และคนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เพื่อผลผลิตอุดมศึกษาที่มีคุณภาพสูงขึ้น การเปลี่ยนสภาพจากมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งมีความเป็นราชการทั้งหมดมาเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ที่มีการบริหารจัดการแตกต่างออกไปแต่ยังต้องใช้งบประมาณแผ่นดินนั้น ต้องให้ความสำคัญและความชัดเจนเกี่ยวกับบทบาท อำนาจ หน้าที่และการบริหารจัดการในทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพมีการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ มีความเชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐ โดยที่รัฐสามารถดูแล ตรวจสอบได้

          6.3.5 สถานภาพของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

          1.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ

          2.) เป็นนิติบุคคล อยู่ใต้การกำกับของรัฐมนตรี ศธ.

          3.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ยังได้รับการจัดสรรงบประมาณที่จาเป็นต่อการประกันคุณภาพการศึกษา

          6.3.6 เชื่อมโยงกับนโยบายของรัฐบาล

          1.) การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยต้องเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของสังคม เป็นไปตามนโยบายของรัฐและแผนพัฒนาประเทศ

          2.) การผลิตบัณฑิต ต้องให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนโดยไม่เลือกปฏิบัติจัดการศึกษาหลายรูปแบบ มีความยืดหยุ่นคล่องตัวในการปรับตัวตามสถานการณ์

          3.) มีกลไกในการจัดสรรงบประมาณหรือกำกับดูแลโดยองค์กรที่รัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อเชื่อมโยงกับการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย

          6.3.7 การจัดสรรงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์

          สำนักงบประมาณได้ปรับแนวทางการจัดสรรงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญให้กับ การจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ที่สอดคล้องตามกรอบยุทธศาสตร์ นโยบายรัฐบาล นโยบายรัฐมนตรี และโครงการสำคัญของรัฐบาล และให้มีการบูรณาการงบประมาณในมิติพื้นที่ (Area) โดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นบูรณาการจัดทางบประมาณร่วมกับจังหวัด / กลุ่มจังหวัด    

6.3.8 ประชาคมอาเซียน

           ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อรับมือกับการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนใน ปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยจะก้าวสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงเป็นทั้งโอกาส และความท้าทาย ประชาคมอาเซียนหรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นองค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

          การเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่ จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้ ปรับทัศนคติ ที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนการเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมายอย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์ การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้ และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกันพร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี

          6.3.9 เทคโนโลยีดิจิทัล

            เทคโนโลยีดิจิทัลนับได้ว่าเป็นโอกาสใหม่ของการส่งความรู้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ซึ่งเป็นโอกาสใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาในการพัฒนา เช่น Massive Open Online Courses , E Learning , Cloud ในสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ คนวัยทำงานและผู้สูงวัย

          6.3.10 สังคมผู้สูงวัย

          ประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่สังคมผู้สูงวัยสมบูรณ์แบบภายใน 10 -20 ปี ข้างหน้า ส่งผลให้ Productivity จะหายไปรายจ่ายจะสูงขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งโรคที่ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคไม่ติดต่อ ทำให้มีชีวิตอยู่นาน แต่รักษาไม่หาย ซึ่งมหาวิทยาลัยควรจะมีการสร้าง Productivity aging group ซึ่งกลุ่มเป้าหมายใหม่ของสถาบันอุดมศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสังคม การสร้างทุนสังคม สาหรับสังคมสูงวัย

          6.3.11 สถานการณ์การเมือง

          การปฏิรูปหรือพัฒนาการจัดการศึกษาจะสำเร็จหรือล้มเหลว ขึ้นอยู่กับการเมืองมากกว่าแนวทางและวิธีการ แต่หากการเมืองไทยมีเงื่อนไขบางประการที่เป็นอุปสรรค จะส่งผลให้การปฏิรูปการศึกษาไทยไม่ก้าวหน้าหรือประสบความสำเร็จเท่าที่ควร อาทิ การปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) บ่อยครั้งทำให้การดำเนินนโยบายการพัฒนาการศึกษาไม่ต่อเนื่อง

          ความไม่สอดคล้องของเป้าหมายของการจัดการศึกษากับเป้าหมายทางการเมือง เป้าหมายของนักการเมืองหลายคน คือ ต้องการคะแนนนิยม จึงมีนักการเมืองจำนวนไม่น้อยที่ไม่ดำเนินนโยบายที่ให้ผลในระยะยาว เนื่องจากเสี่ยงที่จะทาให้ตนเองไม่เป็นที่นิยมทางการเมือง ซึ่งนั้นหมายความรวมถึงนโยบายการศึกษา ดังนั้นนักการเมืองจึงเลือกดำเนินนโยบายที่เห็นผลในระยะสั้น เพื่อทำให้ตนเองได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้งอันเป็นอุปสรรคยิ่งต่อการพัฒนาการศึกษาไทย

          6.3.12 ปัญหาสิ่งแวดล้อม

          ในปัจจุบันสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ทั้งภายในประเทศและในท้องถิ่นมีแนวโน้มถูกทำลายเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรม (ที่มนุษย์สร้างขึ้น) กลับเพิ่มมาแทนมากขึ้นเป็นลำดับ ทั้งนี้เนื่องจาก ในปัจจุบันจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการประดิษฐ์และพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้อำนวยประโยชน์ต่อมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ผลจากการทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติส่งผลกระทบต่อมนุษย์หลายประการ เช่น ปัญหาการแปรปรวนของภูมิอากาศโลกการร่อยหร่อของทรัพยากรธรรมชาติ ชาติภัยพิบัติมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น มลพิษสิ่งแวดล้อมขยายขอบเขต กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงอยู่และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของมนุษย์ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวเกิดจากการเพิ่มของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและภัยธรรมชาติ

          ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมาได้ส่งผลเสียต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และก่อให้เกิดปัญหาการใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืน ได้แก่ ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรป่าไม้ ที่ดิน น้ำ และทรัพยากรชายฝั่ง รวมทั้งปัญหามลพิษที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งด้านมลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพแก่ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ทั้งหมดนี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

บทที่ 7 แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี

          มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีรากฐานการพัฒนามาจากการเกษตร โดยถือกำเนิดมาจากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2477 จนกระทั่งพัฒนามาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในปัจจุบันเป็นเวลากว่า 85 ปี ตลอดเส้นทางของการพัฒนามหาวิทยาลัยได้สั่งสมประสบการณ์ องค์ความรู้และสร้างบุคลากรออกไปรับใช้ประเทศชาติเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้กำหนดทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี ดังต่อไปนี้

          ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัย (Roadmap) ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555 – 2569) ทั้งนี้ ได้มีการวางเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนา คือ การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต ซึ่งหมายความว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการสร้างชีวิตที่ดีมากกว่าการสร้างวัตถุ โดยชีวิตที่ดี หมายถึง ชีวิตของชาวแม่โจ้ทั้งบุคลากร นักศึกษา บัณฑิต และชุมชน ต้องเป็นชีวิตที่ยึดถือการเกษตรเป็นรากฐานของการพัฒนา ชีวิตที่เคารพและให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ชีวิตที่ผูกพันกับประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงที่ต้องก้าวทัน รู้ทันเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลง รวมทั้งชีวิตที่ยึดถือความดีงามและธรรมาภิบาลเป็นรากฐาน เหล่านี้อยู่ภายใต้แนวคิดการพัฒนาสู่การเป็น “แม่โจ้ : มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (Maejo : University of Life)”

7.1 ปรัชญามหาวิทยาลัย

          “มุ่งมั่นพัฒนาบัณฑิตสู่ความเป็นผู้อุดมด้วยปัญญา อดทน สู้งาน เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาของสังคมไทยที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน”

7.2 วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย

          “เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ”

7.3 พันธกิจของมหาวิทยาลัย

          (1) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในวิชาการอและวิชาชีพโดยเฉพาะการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) ที่ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงโดยเน้นทางด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาวิชาที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ ชุมชนท้องถิ่น และสังคมของประเทศ

          (2) ขยายโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาอและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของคนทุกระดับ

          (3) สร้างและพัฒนานวัตกรรม และองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเกษตรและวิทยาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม

          (4) ขยายบริการวิชาการและความร่วมมือในระดับประเทศและนานาชาติ

          (5) พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการเกษตร เพื่อเป็นที่พึ่งของตนเองและสังคม

          (6) ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

          (7) สร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และมีความโปร่งใสในการบริหารงานประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้

7.4 ค่านิยมหลักของมหาวิทยาลัย (Core Values)

          M (Mindfulness) ทำด้วยจิต

          A (Aspiration) คิดมุ่งมั่น

          E (Excellence) ฝันเป็นเลิศ

          J (Justice) เทิดยุติธรรม

          O (Origin) นำเกียรติภูมิ

7.5 เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้

          “เป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และพัฒนาด้านการเกษตร”

7.6 แนวคิดหลักของการพัฒนา

          แนวคิดหลักการพัฒนามหาวิทยาลัย คือ “ การเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างความสมดุล เคารพและเป็นมิตรกับธรรมชาติ รักษาวัฒนธรรมและความดีงามเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและยั่งยืน ” โดยได้กำหนด Strategic Roadmap 3 ประเด็น ได้แก่ 1.) การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) 2.) การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) และ 3.) การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University) มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (Maejo University of Life) โดยวางเป้าหมายในการพัฒนามหาวิทยาลัยดังนี้

                                                    

7.6.1 การเป็นมหาวิทยาลัยอินทรีย์ (Organic University)

          หมายถึง การกลับคืนสู่การเกษตรแบบธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่การปฏิเสธเคมีหรือเทคโนโลยีโดยสิ้นเชิงแต่หมายถึง การใช้อย่างถูกต้องและรับผิดชอบ โดยต้องยึดทางสายกลางใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้อง มีเหตุผล พอเพียง ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการในการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์

          (1) การส่งเสริมการใช้กระบวนการแบบธรรมชาติอย่างครบวงจร (ผลิต แปรรูปตลาด)

          (2) ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนหรือใช้อย่างถูกต้อง รับผิดชอบ พอเพียง และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

          (3) รักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดการผสมผสานเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

          (4) หมุนเวียนการใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          (5) ส่งเสริมการบำรุงรักษาดินให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน

          (6) เพิ่มบทบาทมหาวิทยาลัยในการเป็นศูนย์กลางด้านเกษตรอินทรีย์ของชาติ

          (7) สร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีและให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารปลอดภัยแก่นักศึกษา บุคลากร และชุมชน

                                                       

7.6.2 การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)

          หมายถึง มหาวิทยาลัยต้องพัฒนาสู่ความถูกต้อง โดยสร้างความสมดุลกับธรรมชาติและการเป็น Green University ต้องเน้นเรื่องการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมที่ดีงาม (วัฒนธรรมแม่โจ้ วัฒนธรรมเกษตร วัฒนธรรมล้านนา และวัฒนธรรมไทย) และความดีมีคุณธรรม (ธรรมาภิบาล) โดยมีหลักการในการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว

          (1) การเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยงดเว้นการตัดต้นไม้ใหญ่และปลูกต้นไม้เพิ่มเติม

          (2) การเพิ่มพื้นที่ทางเท้า

          (3) การเพิ่มพื้นที่ทางจักรยานและจำนวนพาหนะที่ไม่ใช่เชื้อเพลิง

          (4) การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ภายในมหาวิทยาลัย

          (5) การเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว

          (6) กำหนดให้มีนโยบายให้การพัฒนาเชิงกายภาพ รองรับการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและสร้างสุขภาวะให้กับนักศึกษาและบุคลากร สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้นักศึกษาทุกๆ ขณะที่นักศึกษาใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข

          (7) การดูแลพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยจะต้องมีความสัมพันธ์กับชุมชนรอบข้างเอื้อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

          (8) การพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ไม่ได้เป็นเพียงนโยบายหรือความต้องการของผู้บริหารเท่านั้นแต่เป็นเรื่องของนักศึกษาและบุคลากรทุกฝ่ายจะต้องมีจิตสานึก และมีส่วนร่วมดูแลและพัฒนามหาวิทยาลัยร่วมกัน

                                                      

.6.3 การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University)

          หมายถึง มหาวิทยาลัยที่สร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างสมบูรณ์แบบและยั่งยืน โดยคำนึงถึงความสุขที่แท้จริงของมนุษย์ การพัฒนาจิตสำนึกที่ดีงามแก่นักศึกษาและบุคลากร โดยมีหลักการในการพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ ดังนี้

          (1) การใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย

          (2) การลดปริมาณของเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste)

          (3) การเพิ่มหลักสูตรและวิชาเรียนที่เกี่ยวกับ ECO

          (4) การเพิ่มจำนวนงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ECO

          (5) การสร้างอาคารเชิงนิเวศต้นแบบ (Eco Building)

          (6) การสร้างจิตสำนึกที่ดีงามแก่นักศึกษาและบุคลากร

          (7) การลดการปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon Reduction)

          (8) การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรดิน, น้ำ, พลังงาน, (Reuse, Reduce, Recycle)

          (9) การออกแบบสิ่งก่อสร้าง อาคาร และชุมชนเชิงนิเวศเพื่อสุขภาพกายใจที่ดี

          (10) สร้างและถ่ายทอดนวัตกรรมและองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรที่ฉลาดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Smart Agriculture)

          (11) การชี้นำสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม

          (12) การกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม

                                                

7.7 แผนการพัฒนาเชิงรุก (Proactive Plan)

          ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555 – 2569) หรือที่เรียกกันว่ายุทธศาสตร์ GO. Eco. U. บนพื้นฐานหลักแนวคิดการพัฒนาที่เคารพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมอันดีงาม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน และมีความสุข โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การสร้างมหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต ที่หมายถึงชีวิตที่มีการเกษตรเป็นรากฐาน รักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงาม บนพื้นฐานของธรรมาภิบาล และการก้าวทันเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยเส้นทางของการพัฒนา 3 เส้นทาง ได้แก่

          1.) มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University)

          2.) มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)

          3.) มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University)

                                                   

7.7.1 มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University)

          ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งด้านเกษตรอินทรีย์ของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานในการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทำให้มหาวิทยาลัยมีความเข้มแข็งด้านเกษตรอินทรีย์ โดยมีความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐาน โรงงาน ฟาร์ม ครุภัณฑ์ ด้านการผลิต ทั้งการผลิตปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ การควบคุมศัตรูพืช การผลิตพืช การประมง และการผลิตสัตว์อินทรีย์ ด้านองค์ความรู้ ด้านการแปรรูป การตรวจรับรองมาตรฐาน รวมถึงด้านการตลาด และเครือข่ายเกษตรกร

             แผนการพัฒนาเชิงรุกมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ ทั้งในด้านการวิจัยและบริการวิชาการ มีประเด็นดังต่อไปนี้

             การสนับสนุนการผลิตอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Organic Supply Chain)

          การสนับสนุนการผลิตอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Organic Supply Chain) โดยใช้องค์ความรู้ ทรัพยากร และบุคลากร ที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญในด้านดังกล่าว สนับสนุนยุทธศาสตร์ของโลกและประเทศไทย ในการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร และสนับสนุนทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน ที่ต้องการให้เชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอินทรีย์และอาหารปลอดภัย

             การสนับสนุนการผลิตอาหารอินทรีย์ (Organic Food) และอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future)

          การสนับสนุนการผลิตอาหารอินทรีย์ (Organic Food) และอาหารแห่งอนาคต โดยต่อยอดวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ สู่กระบวนการแปรรูป การตรวจรับรอง กระบวนการเพิ่มมูลค่า และการตรวจสอบย้อนหลังกลับ เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์อาหารอินทรีย์ที่หลากหลาย ได้คุณภาพและมาตรฐาน ทั้งในระดับชุมชน (Participatory Guarantee System) และมาตรฐานสากล (International Certify Standard) เพื่อให้ครอบคลุมทั้งตลาดระดับชุมชนท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ รวมทั้งการต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomic Tourism หรือ Culinary Tourism) เพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนา 10 กลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการผลิตและธุรกิจอาหารสุขภาพ และภาคเหนือตอนบนเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอินทรีย์ เป็นต้น

            การสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism)

           การสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยการบูรณาการเอาองค์ความรู้ทั้งด้านเกษตรอินทรีย์ การดูแลสุขภาพ พืชสมุนไพร รวมทั้งทรัพยากรพื้นฐาน เช่น ฟาร์มมหาวิทยาลัย ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือร่วมบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดูแลสุขภาพของนักท่องเที่ยวด้วยวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์ สมุนไพรอินทรีย์ และการแพทย์แผนไทย รวมถึงการสนับสนุนนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในการผลิตกำลังคนรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นต้น

          7.7.2 มหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)

          การดำเนินการหลายอย่างของมหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การดูแลรักษาธรรมชาติ และการอนุรักษ์พลังงาน ที่สำคัญคือการจัดตั้งวิทยาลัยพลังงานทดแทนขึ้น เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในการค้นคว้า วิจัย และผลิตบัณฑิตด้านพลังงานทดแทนออกไปรับใช้ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University Ranking) อยู่ในอันดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยไทย และอันดับที่ 110 ของมหาวิทยาลัยโลก ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 15 ปี มหาวิทยาลัยจึงได้มุ่งเน้นให้การสนับสนุนยุทธศาสตร์และนโยบายสำคัญของรัฐบาล ในประเด็นที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

          การอนุรักษ์พลังงาน และการผลิตพลังงานทดแทน (Conservation and Renewable Energy)

         การอนุรักษ์พลังงานและการผลิตพลังงานทดแทน ถือเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนารองรับทุกยุทธศาสตร์ของรัฐบาล โดยเฉพาะในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ได้ให้ความสำคัญกับความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้ใช้ศักยภาพด้านพลังงาน โดยมีวิทยาลัยพลังงานทดแทนเป็นศูนย์กลาง บูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ทั้งในด้านการอนุรักษ์พลังงาน และการพัฒนาพลังงานทดแทนหลากหลายรูปแบบ ทั้งในส่วนที่พัฒนาเพื่อใช้เองภายในมหาวิทยาลัย พลังงานทดแทนสำหรับภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม หรือการแปรรูปขยะของเสียเป็นพลังงานเพื่อใช้ในระดับชุมชน เป็นต้น

          การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth for Sustainable)

          มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีหลายหน่วยงานที่ทำงานขับเคลื่อนการพัฒนาสีเขียว ทั้งในเชิงของหารวิจัยและพัฒนาการบริหารวิชาการ และการผลิตบัณฑิต อาทิเช่น วิทยาลัยพลังงานทดแทน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ และวิทยาลัยบริหารศาสตร์ เป็นต้น โดยทุกหน่วยงานล้วนมีผลงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นที่ประจักษ์ สามารถพัฒนาโครงการต่อยอดเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในประเด็นยุทศาสตร์ที่ 4 ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คือ การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และทิศทางการพัฒนาภาคเหนือในการจัดการพื้นที่เมืองและชุมชน มุ่งสู่เมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป็นต้น

          เกษตรอัจฉริยะ และเกษตรแม่นยำ (Smart Farming and Precision Agriculture)

          มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีความเชี่ยวชาญด้านเกษตรเป็นพื้นฐาน ประกอบกับในระยะหลังมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร และวิทยาลัยพลังงานทดแทน ที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่หลายท่าน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังได้ริเริ่มพัฒนาฟาร์มเกษตรอินทรีย์อัจฉริยะ (Smart Organic Framing) บนพื้นที่กว่า 5 ไร่ ของฟาร์มมหาวิทยาลัย เพื่อให้เป็นต้นแบบในการผลิตพืชอินทรีย์หลากหลายรูปแบบ ซึ่งศักยภาพต่างๆ เหล่านี้สามารถต่อยอดเพื่อพัฒนาโครงการสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาล เช่น กรอบทิศทางการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ที่ต้องการยกระดับการเกษตรจากเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) สู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) และการเกษตรที่มีความแม่นยำสูง (Precision Farming) เป็นต้น

          การเกษตรที่ฉลาดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Smart Agricultural)

         เนื่องจากประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน ถือเป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาทุกยุทธศาสตร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะในเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goal) ที่ประเทศต่างๆ กว่า 198 ประเทศร่วมลงนาม ก็ให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารเป็นเป้าหมายแรกๆ และในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ก็ได้กำหนดให้ประเด็นความมั่นคงทางอาหารเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ดังนั้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะที่เป็นมหาวิทยาลัยที่เชี่ยวชาญด้านการเกษตร จึงมีโอกาสในการพัฒนาองค์ความรู้ในการขับเคลื่อนวาระสำคัญของโลก และยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศดังกล่าว โดยการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่ฉลาดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกษตรเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หรือรูปแบบและวิธีการผลิตสินค้าเกษตรที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ระบบโรงเรือน ระบบการเพาะปลูก ระบบการเลี้ยงสัตว์ หรือระบบการให้น้ำให้ปุ๋ยที่สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

          7.7.3 มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University)

          ในเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะ 15 ปี ได้กล่าวถึงการมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยแม่โจ้และชาวแม่โจ้ ต้องเป็นคนและเป็นองค์กรที่สมบูรณ์ มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนและประเทศชาติได้ และหมายรวมถึงการพัฒนาด้านจิตใจของคนแม่โจ้ด้วย โดยที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้บูรณาการเรื่องต่างๆ เหล่านี้ไว้ในการขับเคลื่อนทั้งยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ และมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยในระยะ 115 ปี หลังจากนี้ จะมีการดำเนินการด้านมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศมากขึ้น

            การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Development and Sustainable Agricultural)

          ถือเป็นประเด็นสำคัญในการกำหนดวาระและเป้าหมายการพัฒนาของโลกในอีก 15 ปี ข้างหน้า และในแผนพัฒนาชาติระยะ 20 ปี และถ่ายทอดไปสู่แผนงาน/โครงการสำคัญของรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยแม่โจ้ดำเนินการในเรื่องนี้มาพอสมควร อาทิเช่น การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งมุ่งเน้นการสอนหลักปรัชญาการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สอดคล้องกับนโยบายหลักของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงการพัฒนาการเกษตรหลากหลายรูปแบบที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอย่างยั่งยืน อันประกอบด้วย เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน และเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่นายกรัฐมนตรีเคยมีหนังสือสั่งการให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าว

            การสร้างชุมชนที่มีจิตสานึกรักษาสิ่งแวดล้อม (Ecology Friendly Mind Community)

          การสร้างชุมชนที่มีจิตสานึกรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของการพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี ทั้งในด้านการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเองให้มีจิตสานึกที่ดีงาม และสร้างชุมชนที่การเติบโตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คืนความอุดมสมบูรณ์สร้างความสมดุลแก่ระบบนิเวศ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมหาวิทยาลัยสามารถปลูกฝังจิตสานึกที่ดีงามให้แก่บัณฑิต ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน รวมทั้งการรวบรวมองค์ความรู้สร้างชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่กับคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

          วัฒนธรรมเกษตรล้านนา (Lanna Agricultural)

          มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แม้จะมีการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่มากมาย รวมถึงการเกษตรที่ยั่งยืน แต่ก็มิลืมที่จะอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมเกษตรดั้งเดิม โดยเฉพาะวัฒนธรรมเกษตรล้านนา อันเป็นพื้นฐานวิถีชีวิตของชาวล้านนาในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน โดยมหาวิทยาลัยได้พัฒนาพื้นที่จานวน 35 ไร่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา รวมทั้งเกษตรทฤษฎีใหม่และเกษตรผสมผสาน ซึ่งที่ผ่านมาได้มีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาเรียนรู้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาระดับประถมและมัธยม ซึ่งมหาวิทยาลัยสามารถบูรณาการองค์ความรู้ ทรัพยากร และความเชี่ยวชาญดังกล่าว เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ และจังหวัดเชียงใหม่ในการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม และวิถีชีวิตท้องถิ่น

7.8 แผนพัฒนาทางกายภาพ

          ตามที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555 – 2569) นโยบายเชิงรุกอีกอย่างหนึ่งที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้วางเป้าหมาย คือ การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ดังนั้นการวางแผนการพัฒนาทางกายภาพมหาวิทยาลัยเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของนักศึกษาและบุคลากร รวมถึงประชาชนทั่วไป ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญและท้าทายกับทางมหาวิทยาลัย โดยแผนในระยะ 15 ปี มหาวิทยาลัยได้กำหนดกรอบนโยบายให้การพัฒนาทางกายภาพรองรับการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและสร้างสุขภาวะที่ดี สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้นอกห้องเรียน รักษาพื้นที่สีเขียวเดิมและแนวทางการเพิ่มพื้นที่สีเขียวใหม่ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในมหาวิทยาลัย นำไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวชั้นนำของประเทศไทยในอนาคต เช่น การควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร การเพิ่มพื้นที่ทางเท้าและทางจักรยาน การใช้พลังงานทดแทน การลดการปล่อยของเสีย การสร้างอาคารเชิงนิเวศต้นแบบ และการออกแบบก่อสิ่งก่อสร้าง ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

7.9 การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis)

          การวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน (SWOT Analysis) เพื่อการพัฒนาผังแม่บทของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงนโยบาย การบริการจัดการ การใช้ที่ดิน และโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดแนวคิดการวางผังแม่บทที่สามารถดำเนินการได้จริงในเชิงพื้นที่ โดยเฉพาะด้านของการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลอยู่บนพื้นฐานของผลสำเร็จของการดำเนินงานในช่วง 4 ปีแรก (พ.ศ. 2560 – 2564) ตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 12 ที่สามารถตอบโจทย์การพัฒนามหาวิทยาลัยทั้ง 3 ด้าน บนพื้นฐานของแนวคิดการพัฒนาที่เคารพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้การมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (Maejo Universiy of Life) โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยได้แก่ การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco University) และการเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University) ซึ่งเป็นแผนการพัฒนาเชิงรุกของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี พ.ศ. 2555 – 2569 (Road Map)

     ทั้งนี้ ผลสำเร็จของการดำเนินงานถูกวิเคราะห์ไว้ในส่วนของสภาพปัจจุบันที่ส่งเสริมให้เกิดจุดแข็ง (Strengths) ของมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินต่อ ในทางตรงกันข้ามการวิเคราะห์จุดอ่อน (Weaknesses) เป็นการสะท้อนการดำเนินงานที่ยังขาดความชัดเจนหรือการวางแผนปฏิบัติการเชิงพื้นที่ที่เหมาะสม ขณะที่การวิเคราะห์โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) เป็นส่วนสำคัญในการปรับแผนการพัฒนาในระยะที่สอง ปี พ.ศ. 2565 – 2569 หรือการมองหาช่องทางการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับสถานภาพปัจจุบันและที่คาดการณ์ในอนาคตผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis แสดงให้เห็นภาพรวมของสถานภาพปัจจุบันของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพและกำหนดแนวทางการพัฒนาผังแม่บทของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดังนี้

ตารางที่ 19 การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT Analysis)

                                            

                                             

7.10 ผลการดำเนินงาน 5 ปี (2555 2559) ตามยุทธศาสตร์ฯ 15 ปี และแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 11

ที่มา : แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะที่ 12 (2560 – 2564)

            เป็นข้อมูลสรุปผลการดำเนินงานระยะ 5 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 15 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้

ประเด็นที่ 1 ผลการดาเนินงานตามหลักการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University)

          ใจความสำคัญของการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ (Organic University) คือ เรื่องของการมุ่งเน้นการกลับคืนสู่การเกษตรแบบธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่การปฏิเสธเคมีหรือเทคโนโลยีโดยสิ้นเชิง แต่ใช้อย่างถูกต้องและไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการในการพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ ดังนี้

          - การส่งเสริมการใช้กระบวนการแบบธรรมชาติอย่างครบวงจร (ผลิต แปรรูปตลาด)

          - ลด ละ เลิกการใช้สารเคมีในทุกขั้นตอนหรือใช้อย่างถูกต้อง รับผิดชอบ พอเพียง และไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

          - รักษาความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดการผสมผสานเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

          - หมุนเวียนการใช้ทรัพยากรภายในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          - ส่งเสริมการบำรุงรักษาดินให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน

          - เพิ่มบทบาทมหาวิทยาลัยในการเป็นศูนย์กลางด้านเกษตรอินทรีย์ของชาติ

          - สร้างความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีและให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารปลอดภัยแก่นักศึกษา บุคลากร และชุมชน

          สรุปผลการดำเนินงานระยะ 5 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี ด้านการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ ดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 20 ผลดำเนินการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ พ.ศ. 2555 – 2559

                                              

                                             

                                             

ประเด็นที่ 2 ผลการดำเนินงานตามหลักการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University)

          ใจความสำคัญของการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) คือ เรื่องการมุ่งเน้นเรื่องของการรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีหลักการในการพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ดังนี้

          - การเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยงดเว้นการตัดต้นไม้ใหญ่ และปลูกต้นไม้เพิ่มเติม

          - การเพิ่มพื้นที่ทางเท้า

          - การเพิ่มพื้นที่ทางจักรยานและจำนวนยานพาหนะที่ไม่ใช้เชื้อเพลิง

          - การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ภายในมหาวิทยาลัย

          - การเข้าสู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียว

          - กำหนดให้มีนโยบายให้การพัฒนาเชิงกายภาพรองรับการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและสร้างสุขภาวะให้กับนักศึกษาและบุคลากร สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ให้นักศึกษาทุกๆ ขณะที่นักศึกษาใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างมีความสุข

          - การดูแลพัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยจะต้องมีความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบและเอื้อประโยชน์ในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

          - การพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ไม่ได้เป็นเพียงนโยบายหรือความต้องการของผู้บริหารเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของนักศึกษาและบุคลากรทุกฝ่ายจะต้องมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมการดูแลและพัฒนามหาวิทยาลัยร่วมกัน

          สรุปผลการดำเนินงานระยะ 5 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี ด้านการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 21 ผลดำเนินการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว พ.ศ. 2555 – 2559

                                              

                                             

ประเด็นที่ 3 ผลการดำเนินงานตามหลักการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco. University)

           ใจความสำคัญของการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ (Eco. University) คือ เรื่องการมุ่งเน้นเรื่องของการสร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างสมบูรณ์แบบและยั่งยืน โดยมีหลักการในการพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ ดังนี้

          -การใช้พลังงานทดแทนภายในมหาวิทยาลัย

          -การลดปริมาณของเสียเหลือศูนย์ (Zero Waste)

          -การเพิ่มหลักสูตรและวิชาเรียนที่เกี่ยวกับ ECO

          -การเพิ่มจำนวนงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ECO

          -การสร้างอาคารเชิงนิเวศต้นแบบ (Eco Building)

          -การสร้างจิตสำนึกที่ดีงามแก่นักศึกษาและบุคลากร

          -การลดการปล่อยคาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon Reduction)

          -การหมุนเวียนใช้ทรัพยากรดิน, น้ำ, พลังงาน, (Reuse, Reduce, Recycle)

          -การออกแบบสิ่งก่อสร้าง อาคาร และชุมชนเชิงนิเวศเพื่อสุขภาพกายใจที่ดี

          -สร้างและถ่ายทอดนวัตกรรมและองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรที่ฉลาดต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Smart Agriculture)

          -การชี้นำสังคมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม

          -การกำกับดูแลสิ่งแวดล้อม

          สรุปผลการดำเนินงานระยะ 5 ปี ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี ด้านการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ ดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 22 ผลดำเนินการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ พ.ศ. 2555 – 2559

                                             

                                           

7.11 สรุป

          การวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนามหาวิทยาลัยมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว โดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ใน 3 ประเด็นหลัก 1.) การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว 2.) การเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ 3.) การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ โดยการดำเนินการกิจกรรมต่างๆ ระยะเวลากว่า 5 ปี ที่ผ่านมา ทำให้เห็นถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยในด้านต่างๆ ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนามหาวิทยาลัยตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี มุ่งสู่ปีที่ 100 ดังนี้

          ด้านยุทธศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมียุทธศาสตร์หรือนโยบายที่ชัดเจน โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานรวมถึงการได้รับการสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง

          ด้านการพัฒนาพื้นที่ : มหาวิทยาลัยมีศักยภาพเรื่องของพื้นที่เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพร้อมรองรับการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต

          ด้านผลงานและวิจัย : มหาวิทยาลัยมีผลงานด้านเกษตรอินทรีย์ที่มีความโดดเด่นเป็นที่ยอมรับ และมีผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการด้านเกษตรเพียงพอต่อศักยภาพในการพัฒนามหาวิทยาลัยในอนาคต

          ด้านเครือข่าย : มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายเกษตรกรมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย รวมถึงได้รับการสนับสนุนและให้ความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง

          ด้านการการันตี : มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับการจัดอันดับ Green University ในการติดอันที่ดีด้านการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย Green Ranking ซึ่งแสดงถึงการมีศักยภาพในการพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวในอนาคต

บทที่ 8 การวิเคราะห์พื้นที่เพื่อสนับสนุนการปรับปรุงผังแม่บท

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

          การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงผังแม่บทมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ศึกษาและวิเคราะห์พื้นที่สภาพแวดล้อมกายภาพปัจจุบันของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบวางผังและปรับปรุงผังแม่บทมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี ดังต่อไปนี้

8.1 การวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน

          การวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบันใช้เกณฑ์การจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินจากลักษณะการใช้ที่ดินที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย โดยได้แบ่งประเภทการใช้ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน ออกเป็น 11 ประเภท โดยได้กำหนดสัญลักษณ์และคำนิยามแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 23 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน Land Use

                                             

                                              

ผลการวิเคราะห์การใช้ประโยชนที่ดินปัจจุบัน

          จากการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมมีพื้นที่มากที่สุดประมาณ 179.80 ไร่ (ร้อยละ 23.16 ของพื้นที่ทั้งหมด) รองลงมาคือพื้นที่การเรียนการสอน มีพื้นที่ประมาณ 167.33 ไร่ (ร้อยละ 21.55 ของพื้นที่ทั้งหมด) พื้นที่นันทนาการ มีพื้นที่ประมาณ 94.40 ไร่ (ร้อยละ 12.16 ของพื้นที่ทั้งหมด) พื้นที่พักอาศัย มีพื้นที่ประมาณ 60.29 ไร่ (ร้อยละ 7.76 ของพื้นที่ทั้งหมด) พื้นที่อนุรักษ์เพื่อสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่ประมาณ 52.10 ไร่ (ร้อยละ 6.71 ของพื้นที่ทั้งหมด) พื้นที่บริการทางวิชาการ มีพื้นที่ทั้งหมด 44.98 (ร้อยละ 5.79 ของพื้นที่ทั้งหมด) และพื้นที่สาธารณูปการ มีพื้นที่ประมาณ 46.04 ไร่ (ร้อยละ 5.93 ของพื้นที่ทั้งหมด ดังตารางที่ .....

ตารางที่ 24 ตารางแสดงข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2563

                                               

                                             

                                                     

8.2 การวิเคราะห์พื้นที่เปิดโล่ง (Open Space)

         การวิเคราะห์พื้นที่เปิดโล่ง (Open Space) ได้แก่ พื้นที่ภายนอกโครงสร้างอาคาร และพื้นที่สีเขียวรวมถึงพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศ เช่น พื้นที่อันปราศจากหลังคาหรือสิ่งปลูกสร้างปกคลุมรวมถึงสระน้ำ บ่อน้ำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติ แต่ไม่นับรวมพื้นที่ดาดแข็งและพื้นที่ฐานอาคาร (Foot Print)

ผลจากการวิเคราะห์พื้นที่เปิดโล่ง

          จากการวิเคราะห์พื้นที่เปิดโล่งภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า พื้นที่โล่งเปิดโล่งมีพื้นที่ประมาณ 450.94 ไร่ (ร้อยละ 58.08 ของพื้นที่ทั้งหมด) และพื้นที่ดาดแข็งและพื้นที่ฐานอาคาร มีพื้นที่ประมาณ 325.52 ไร่ (ร้อยละ 41.92 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 25

ตารางที่ 25 ตารางแสดงการวิเคราะห์พื้นที่เปิดโล่ง (Open Space)

                                              

8.3 การวิเคราะห์ปริมาณพืชพรรณ

          การวิเคราะห์ปริมาณพืชพรรณ หรือ ไม้ยืนต้น ภายในมหาวิทยาลัย ได้จากการสำรวจไม้ยืนต้นทั้งหมดโดยไม่แยกพืชพรรณ พบว่าไม้ยืนต้นภายในมหาวิทยาลัยที่มีความสูงจากพื้นดิน 1 -2 เมตร ขึ้นไป มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 22,418 ต้น

8.4 การวิเคราะห์การเข้าถึงพื้นที่มหาวิทยาลัย

          การเข้าถึงพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้ดังนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของตัวอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีระยะทางห่างกันประมาณ 15 กิโลเมตร การเข้าถึงพื้นที่แบ่งได้เป็น 2 เส้นทางหลัก ได้แก่ ถนนสายหลักและถนนสายรอง 1.) ถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนเชียงใหม่ – พร้าว คือ ถนนทางหลวงชนบท หมายเลข 1001 เชื่อมต่อตามแนวทิศเหนือ – ใต้ ระหว่างสามแยกฟ้าฮ่ามที่แยกมาจากถนนทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 11 มุ่งขึ้นทางทิศเหนือไปอำเภอพร้าว

          2.) ถนนสายรอง ถนนเชียงใหม่ – สันทราย คือ ถนนทางหลวงชนบท หมายเลข 1367 เชื่อมต่อตามแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ – ตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างกาดสามแยกมุ่งขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางอำเภอสันทราย

8.5 การวิเคราะห์จินตภาพมหาวิทยาลัย

          การวิเคราะห์จินตภาพมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ใช้แนวคิดทฤษฎีของ เควิน ลินซ์ (Kevin Lynch) สถาปนิกชาวอเมริกัน นักวางผัง ซึ่งให้คาจากัดความ ภูมิทัศน์เมือง ว่าเป็นการรวมองค์กอบในการเรียนรู้ของเมือง โดยองค์ประกอบต่างๆ จะสร้างประสบการณ์ในการรับรู้กายภาพเมืองของผู้ใช้ แม้ว่าจินตภาพของเมืองจะวิเคราะห์ได้หลากหลายแง่มุม เช่น ความหมายทางสังคมของพื้นที่หนึ่งๆ หน้าที่ประโยชน์ใช้สอย หรือแง่มุมทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น หากสภาพแวดล้อมของเมืองมีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสม ก็จะทำให้เกิดจินตภาพที่ชัดเจนและส่งผลให้เมืองนั้นๆมีความน่าประทับใจต่อผู้พบเห็นในที่สุด ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 อย่าง ดังนี้

          1.) เส้นทาง (Paths) คือ เส้นทางที่ผู้ใช้สามารถผ่านไปได้ ทั้งทางผ่านประจำหรือนานๆ ครั้งรวมถึงที่มีศักยภาพในการชี้นำผู้ใช้ให้เคลื่อนที่ผ่านไปได้ ที่กล่าวมาข้างต้น คือ ทางสัญจร เช่น ถนน ทางรถไฟ ทางด่วน ทางเท้า เป็นต้น เส้นทางเหล่านี้เป็นส่วนที่มีความสำคัญมากต่อการเดินทางของผู้คนในเมือง ในขณะที่ผู้คนเคลื่อนไหวผ่านเส้นทาง ผู้คนมีโอกาสเห็นสิ่งต่างๆ ของเมืองตามเส้นทางและเกิดความสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆของเมือง

          2.) ขอบเขต (Edges) คือ เป็นองค์ประกอบที่มีลักษณะกำหนดขอบเขตบริเวณที่ไม่ได้ใช้เป็นเส้นทางตามทัศนะของผู้สังเกต เปรียบเสมือนกับการกั้น การขวาง หรือการตัดสภาวะ 2 สภาวะออกจากกัน เป็นการแยกสภาพแวดล้อมที่ต่อเนื่องออกจากกัน อาจปรากฏเป็นเส้นกันจากส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่งที่เป็นแนวกั้นตามธรรมชาติ เช่น ชายฝั่งทะเล หรือ ริมฝั่งแม่น้ำและแนวกั้นที่แสดงขอบเขตที่มนุษย์สรรสร้างขึ้น เช่น กำแพงเมือง คูเมือง เส้นทางที่รถไฟตัดผ่าน ขอบเขตที่ดิน เป็นต้น

          3.) ย่าน (Districts) คือ ส่วนของเมืองที่มีขนาดตั้งแต่เล็ก ปานกลางจนถึงใหญ่ เป็นบริเวณพื้นที่ชุมชนที่มีขนาดของพื้นที่ตามลักษณะเฉพาะชุมชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมือง มีลักษณะเฉพาะของบริเวณอันเกิดจากลักษณะเฉพาะร่วมกันของบริเวณผู้ใช้ เข้าสู่ภายในเมืองได้โดยผู้ใช้จะรับรู้และรู้สึกได้เมื่อเข้าสู่ย่านนั้นๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีสภาพความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันตามโครงสร้างทางสังคม วิถีชีวิตของชุมชนจะแสดงลักษณะกิจกรรมของผู้คนที่ปรากฎเป็นย่านที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันในเมือง

          4.) จุดศูนย์รวม (Nodes) คือ สถานที่ที่อยู่ในเมืองซึ่งผู้คนสามารถผ่านเข้าไปได้ มักเป็นจุดศูนย์กลางของเส้นทาง เปลี่ยนถ่ายทางสัญจรทั้งขาเข้าและขาออกของผู้เดินทางทั้งหลาย หรือเป็นจุดศูนย์รวมของกิจกรรมที่หลากหลาย เป็นที่รวมกันเพื่อทากิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งภายในเมือง เช่น บริเวณสี่แยก หรือ ชุมทางสถานีขนส่งต่างๆ ชุมทางสถานีรถไฟใต้ดิน อาจเป็นสถานที่ซึ่งมีกิจกรรมหนาแน่นบริเวณจัตุรัสใจกลางเมือง จุดศูนย์รวมจึงเป็นจุดเด่นเฉพาะตัวของย่านในเมือง เกิดความสัมพันธ์กับเส้นทางต่างๆ ที่รวมกันเป็นชุมทางเมื่อมาถึงและเดินทางเชื่อมต่อไปยังที่อื่นๆ

          5.) จุดหมายตา (Landmarks) คือ จุดอ้างอิง หรือ ภูมิสัญลักษณ์ที่ใช้เป็นจุดหมายตาแตกต่างจากจุดทาง ที่บุคคลไม่สามารถเข้าสู่ภายในจุดหมายตาได้ โดยทำหน้าที่เป็นสัญญาณชี้แนะสำหรับสภาพแวดล้อม เช่น ป้าย อาคารสำคัญๆ อนุสาวรีย์ เป็นต้น

          จากการวิเคราะห์จินตภาพมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามแนวคิดทฤษฎีของ เควิน ลินซ์ (Kevin Lynch) สามารถวิเคราะห์จินตภาพพื้นที่ได้ดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 26 ตารางแสดงจินตภาพมหาวิทยาลัยแม่โจ้

                                              

                                                        

ภาพที่ 26 ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2563

                                                        

ภาพที่ 27 ผังการวิเคราะห์พื้นที่เปิดโล่ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2563

                                                        

ภาพที่ 28 ผังการวิเคราะห์ปริมาณพืชพรรณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2563

                                                        

ภาพที่ 29 ผังจินตภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

                                                        

ภาพที่ 30 การเข้าถึงมหาวิทยาลัยแม่โจ้และสถานที่ราชการโดยรอบ

บทที่ 9 แนวความคิดในการปรับปรุงวางผังเกี่ยวกับเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน

          แนวความคิดในการวางผังเกี่ยวกับเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ผังแม่บทมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ปี พ.ศ. 2528 โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้แบ่งเขตตามการใช้สอยที่ดินออกเป็น 6 เขต ด้วยกัน คือ

          เขตที่ 1 พื้นที่การศึกษา

          เขตที่ 2 พื้นที่พักอาจารย์และข้าราชการ

          เขตที่ 3 พื้นที่พักพักนักศึกษา

          เขตที่ 4 พื้นที่กีฬาและสันทนาการ

          เขตที่ 5 พื้นที่ไร่สาธิตและแปลงทดลอง

          เขตที่ 6 พื้นที่ส่วนบริการ

          การกำหนดเนื้อที่ของแต่ละเขตได้พิจารณาจากปริมาณการใช้สอยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และตามแผน 6,7 รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบเนื้อที่ของวิทยาเขตต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีแนวความคิด แนวทางการศึกษาใกล้เคียงกัน โดยคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้มีมติเห็นชอบตามที่เสนอ ซึ่งได้เนื้อที่ของแต่ละเขตพื้นที่ดังนี้

ตารางที่ 27 แผนระยะที่ 6

                                             

ตารางที่ 28 แผนระยะที่ 7

                                              

          แนวความคิดในการวางผังเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินแผนระยะที่ 7 จะสังเกตได้ว่า พื้นที่ของไร่สาธิตและแปลงทดลองเปลี่ยนเป็นพื้นการศึกษา ซึ่งในอนาคตจะเติบโตขึ้น ในแผนระยะที่ 6 , 7 พื้นที่ดังกล่าวลดลงจาก 489,000 ตารางเมตร เป็น 335,350 ตารางเมตร ในแผนระยะที่ 7 และอนาคต คิดเป็นเนื้อที่ 153,650 ตารางเมตร หรือประมาณ 96 ไร่ ซึ่งจะทำให้มหาวิทยาลัยขาดแคลนส่วนที่เป็นไร่ฝึกและแปลงทดลองจาเป็นต้องหาพื้นที่มาชดเชยจากการพิจารณาถึงความเหมาะสมพื้นที่บริเวณทิศตะวันออกของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นพื้นที่ของกรมชลประทาน มีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากมีอาณาเขตติดต่อกับมหาวิทยาลัย มีห้วยแม่โจ้ซึ่งเป็นคลองชลประทานสามารถใช้กับแปลงทดลองของมหาวิทยาลัยได้อย่างพอเพียงและขนาดพื้นที่ใกล้เคียงกับขนาดพื้นที่ที่ต้องการทดแทน ทางมหาวิทยาลัยควรจะมีการเจรจาขอใช้หรือขอซื้อพื้นที่ดังกล่าวจากกรมชลประทาน เพื่อมิให้ทางมหาวิทยาลัยต้องขาดแคลนพื้นที่เพื่อการฝึกและทดลอง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของสถาบันด้านการเกษตร เป็นสิ่งที่จะช่วยให้นักศึกษามีทักษะทางด้านเกษตรกรรมอย่างแท้จริง และจะช่วยให้มีการทดลองค้นคว้าสิ่งใหม่ๆ มากขึ้น

          แนวความคิดในการปรับปรุงวางผังเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื่องจากการปัจจุบันบริบทการใช้ประโยชน์ที่ดินมหาวิทยาลัยในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมาก สาเหตุและปัจจัยมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักศึกษาและบุคลากร รวมถึงหลักสูตรและเทคโนโลยีต่างๆที่เข้ามามีบทบาทในเกี่ยวกับการเรียนการสอนในด้านต่างๆ ผังแม่บท ปี พ.ศ. 2528 จึงไม่สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน คณะทางานผังแม่บทจึงเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันและยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี (Road Map) มุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสีเขียว และมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศ โดยการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่และกำหนดเกี่ยวกับการใช้ประโยชนที่ดินแต่ละพื้นที่เน้นการใช้ที่ดินแบบผสมผสาน และให้แต่ละพื้นที่ควรรักษาพื้นที่สีเขียวไว้อย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่ออนุรักษ์และรักษาคุณภาพพื้นที่สีเขียวภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เกณฑ์และการกำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นพิจารณาจากกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สามารถจำแนกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 10 ประเภท ดังต่อไปนี้

          เขตที่ 1 พื้นที่การเรียนการสอน

          เขตที่ 2 พื้นที่สานักงานการบริหาร

          เขตที่ 3 พื้นที่บริการทางวิชาการ

          เขตที่ 4 พื้นที่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

          เขตที่ 5 พื้นที่พาณิชยกรรม

          เขตที่ 6 พื้นที่พัฒนามูลค่าสูงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

          เขตที่ 7 พื้นที่นันทนาการ

          เขตที่ 8 พื้นที่พักอาศัย

          เขตที่ 9 พื้นที่อนุรักษ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

          เขตที่ 10 พื้นที่เกษตรกรรม

          เขตที่ 11 พื้นที่สาธารณูปการ

          การกำหนดเนื้อที่ของแต่ละเขตพื้นที่พิจารณาจากบริบททางกายภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยการจัดกลุ่มพื้นที่กิจกรรมประเภทเดียวกันให้อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือต่อเนื่องกัน เป็นระบบบล็อกย่อย (Sub Block System) ประโยชน์จากการจัดกลุ่มการใช้ประโยชน์ที่ดินลักษณะนี้จะช่วยลดการเดินทาง เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งเนื้อที่ของแต่ละเขตพื้นที่มีดังต่อไปนี้

ตารางที่ 29 ประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2563

                                            

                                              

ตารางที่ 30 แผนปรับปรุงวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ 2563

                                              

                                               

                                                  

ภาพที่ 31 ผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2528

                                                    

ภาพที่ 32 ผังการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 6

                                                    

ภาพที่ 33 ผังการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 7-8

                                                        

ภาพที่ 34 ผังการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน 2563

                                                        

ภาพที่ 35 การออกแบบวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่

ที่ดินประเภทการเรียนการสอน

                                                         

          พื้นที่การเรียนการสอน มีพื้นที่ประมาณ 280,391.44 ตารางเมตร หรือประมาณ 175.24 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 22.57 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการศึกษา การบรรยาย ปฏิบัติการ งานทดลอง และงานวิจัย เป็นหลัก กำหนดให้อยู่บริเวณพื้นที่ส่วนกลางของมหาวิทยาลัยตามที่กำหนดไว้ในผังแม่บทเดิม เพื่อรองรับกิจกรรมหลักต่างๆของมหาวิทยาลัย

ที่ดินประเภทสานักงานการบริหาร

                                                         

          พื้นที่สำนักงานการบริหาร มีพื้นที่ประมาณ 48,238.58 ตารางเมตร หรือประมาณ 30.15 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.88 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการบริหารจัดการ การติดต่อประสานงานทางราชการและหน่วยงานต่างๆภายในและภายนอก กำหนดให้อยู่บริเวณทิศตะวันตกของมหาวิทยาลัยฝั่งประตู 2 ติดถนนทางหลวงเชียงใหม่ – พร้าว เพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อประสานงานราชการต่างๆ

ที่ดินประเภทบริการทางวิชาการ

                                                       

          พื้นที่บริการทางวิชาการ มีพื้นที่ประมาณ 30,419.61 ตารางเมตร หรือประมาณ 19.01 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.45 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อบริการความรู้เผยแพร่งานทางวิชาการ งานสัมมนาและจัดการประชุม กำหนดให้เกาะกลุ่มอยู่บริเวณทิศใต้ของมหาวิทยาลัย ฝั่งประตูบางเขน ประตู 5 ติดถนนเชียงใหม่ – สันทราย เพื่อรองรับการจัดกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่างๆ ที่อาจมีบุคคลภายนอกที่มาเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งบางช่วงเวลาที่มีกิจกรรมต่างๆ

ที่ดินประเภทส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

                                                       

          พื้นที่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มีพื้นที่ประมาณ 14,411.24 ตารางเมตร หรือประมาณ 9.01 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 1.16 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ที่ดินเพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรม และกิจกรรมทางศาสนา กำหนดให้อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัย ฝั่งประตู 1 ประตูหลักมหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่แสดงเอกลักษณ์มหาวิทยาลัยทาให้ผู้ที่สัญจรผ่านไปมาสามารถพบเห็นได้ชัดเจน สร้างเป็นภาพจำต่อบุคคลภายนอก

ที่ดินประเภทพานิชยกรรม

                                                       

          พื้นที่พาณิชยกรรม มีพื้นที่ประมาณ 41,944.14 ตารางเมตร หรือประมาณ 26.21 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.37 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อธุรกิจการค้า การลงทุน เพื่อหาผลกำไร จัดพื้นที่สาหรับพัฒนาเป็นย่านการค้าการบริการสำหรับนักศึกษาและบุคลากรรวมถึงบุคคลภายนอก กำหนดให้อยู่ในพื้นที่ 5 บริเวณ คือ

          - พื้นที่บริเวณกาด 2477 ทางทิศตะวันตก ฝั่งประตู 2 ติดถนนทางหลวงเชียงใหม่ – พร้าว ตรงข้ามกลุ่มอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย

          - พื้นที่บริเวณโรงอาหารเทิดกสิกร ทางทิศตะวันตก ติดกับกลุ่มหอพักนักศึกษา

          - พื้นที่บริเวณสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ทางทิศใต้ ฝั่งประตู 5 (ประตูบางเขน) ติดถนนทางหลวงเชียงใหม่ – สันทราย

          - พื้นที่บริเวณส่วนกลางของมหาวิทยาลัย โรงอาหาร Green Canteen บริเวณกลุ่มอาคารเรียน ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม และคณะบริเวณใกล้เคียงต่างๆ

ที่ดินประเภทพัฒนามูลค่าสูงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

                                                      

          พื้นที่พัฒนามูลค่าสูงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีพื้นที่ประมาณ 64,947.16 ตารางเมตร หรือประมาณ 40.59 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.23 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพัฒนามุ่งสู่การจัดองค์ความรู้และเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมที่ให้ประสิทธิภาพสูง กำหนดให้อยู่ในพื้นที่ 2 บริเวณ คือ

          - พื้นที่บริเวณอาคารฝึกอบรมนานาชาติ ฝั่งประตูวิศวะ ติดถนนทางหลวงเชียงใหม่ – สันทราย

          - พื้นที่บริเวณหลังอาคารเรียนรวมคณะวิศวกรรมศาสตร์ ฝั่งประตูวิศวะ ติดถนนทางหลวงเชียงใหม่ – สัน ทราย

ที่ดินประเภทนันทนาการ

                                                       

          พื้นที่นันทนาการ มีพื้นที่ประมาณ 162,235.75 ตารางเมตร หรือประมาณ 101.40 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 13.06 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการออกกำลังกายและการพักผ่อนหย่อนใจ กำหนดให้อยู่ตำแหน่งตามผังแม่บทเดิม คือ บริเวณพื้นที่ส่วนกลางของมหาวิทยาลัย เป็นพื้นที่เชื่อมต่อกับพื้นที่การเรียนการสอน

ที่ดินประเภทที่พักอาศัย

                                                       

          พื้นที่พักอาศัย มีพื้นที่ประมาณ 81,536.43 ตารางเมตร หรือประมาณ 50.96 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.56 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยเป็นหลัก ผังแม่บทเดิมกำหนดให้พื้นที่อยู่อาศัยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เขตที่พักนักศึกษาและเขตที่พักข้าราชการและบุคลากร ซึ่งการปรับปรุงผังการใช้ประโยชน์ที่ดินใหม่ กำหนดให้พื้นที่อยู่อาศัยอยู่เกาะกลุ่มในพื้นที่เดียวกัน เพื่อพัฒนาเป็นย่านที่อยู่อาศัยของนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย อยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับกลุ่มอาคารหอพักนักศึกษา

ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

                                                       

          พื้นที่อนุรักษ์เพื่อสิ่งแวดล้อม มีพื้นที่ประมาณ 114,401.97 ตารางเมตร หรือประมาณ 71.50 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 9.21 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินสงวนเพื่อนันทนาการ อนุรักษ์และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม กำหนดให้อยู่บริเวณทิศเหนือเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นพื้นที่เปิดโล่ง ติดลำน้ำห้วยโจ้ อาคารและสิ่งปลูกสร้างน้อย เหมาะสาหรับการรักษาระบบนิเวศและอนุรักษ์ไว้เป็นพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัย

ที่ดินประเภทเกษตรกรรม

                                                       

          พื้นที่เกษตรกรรม มีพื้นที่ประมาณ 258,635.55 ตารางเมตร หรือประมาณ 161.65 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 20.82 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออนุรักษ์การเกษตร แปลงทดลอง แปลงฝึก พืชไร่และพืชสวน กำหนดให้อยู่ตามผังแม่บทเดิม แบ่งเป็นพื้นที่ใหญ่ๆ 3 ส่วน เพื่อสนองส่วนการศึกษาที่สำคัญๆ ในแต่ละจุด โดยมีลักษณะโอบล้อมส่วนการศึกษาทางทิศตะวันออก บริเวณถนนเลียบคลองชลประทาน ทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้ บริเวณหน้ามหาวิทยาลัย และทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณอาคารเรียนคณะวิศวกรรมฯ และกลุ่มอาคารโรงประปาและโรงบาบัดน้ำเสีย ณ บริเวณที่อยู่รอบเขตมหาวิทยาลัย เพื่อความสะดวกแก่นักศึกษาและอาจารย์ในการดูแลและการทดลอง และช่วยร่นระยะเวลาเดินทางไปยังพื้นที่เกษตรให้สั้นลง

ที่ดินประเภทสาธารณูปการ

                                                       

          พื้นที่สาธารณูปการ มีพื้นที่ประมาณ 63,732.29 ตารางเมตร หรือประมาณ 39.83 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 5.13 ของพื้นที่ทั้งหมด เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการซ่อมแซมและบำรุง ระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบการจัดขยะ ระบบบำบัดน้ำเสียและงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กำหนดให้อยู่ตำแหน่งเดิมของผังแม่บท อยู่บริเวณทิศตะวันออกติดแนวขอบเขตมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสม เนื่องจากแยกออกเป็นสัดส่วนไกลจากพื้นที่การเรียนการสอน และพื้นที่พักอาศัยซึ่งอาจส่งผลกระทบเรื่องของเสียงและกลิ่นที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ

                                                     

ภาพที่ 36 เขตผังพื้นที่การเรียนการสอน

                                                     

ภาพที่ 37 เขตผังพื้นที่สานักงานการบริหาร

                                                     

ภาพที่ 38 เขตผังพื้นที่บริการทางวิชาการ

                                                     

ภาพที่ 39 เขตผังพื้นที่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

                                                     

ภาพที่ 40 เขตผังพื้นที่พาณิชยกรรม

                                                     

ภาพที่ 41 เขตผังพื้นที่พัฒนามูลค่าสูงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

                                                     

ภาพที่ 42 เขตผังพื้นที่นันทนาการ

                                                     

ภาพที่ 43 เขตผังพื้นที่พักอาศัย

                                                     

ภาพที่ 44 เขตผังพื้นที่อนุรักษ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

                                                     

ภาพที่ 45 เขตผังพื้นที่เกษตรกรรม

                                                     

ภาพที่ 46 เขตผังพื้นที่สาธารณูปการ

บทที่ 10 แนวทางในการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม

แนวทางในการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมทั่วไป

          - ออกแบบโดยคำนึงถึงการใช้สอยเป็นประการสำคัญ

          - ออกแบบโดยพิจารณาสภาพภูมิศาสตร์ ดินฟ้าอากาศและสภาพแวดล้อม

          - รูปแบบมีความกลมกลืนสัมพันธ์กัน

          - รูปลักษณะของอาคารให้แสดงออกซึ่งลักษณะอาคารไทยภาคเหนือ

          - ประหยัดและสะดวกต่อการบารุงรักษา

          - เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่สีเขียวมีอัตราลดลงอย่างต่อเนื่อง อาจจำเป็นต้องให้อาคารขึ้นทางสูง

          - เน้นอาคารพระช่วง เกษตรศิลป์ ให้เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

          - ออกแบบโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน หรือติดตั้งระบบผลิตพลังงานทดแทน เช่น พลังงาน แสงอาทิตย์

แนวทางในการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมอันเนื่องมาจากปัญหาและลักษณะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

          ปัญหาในปัจจุบัน

          - อาคารสร้างเป็นอาคารหลังเล็กหลังน้อย กระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ ไม่เป็นระบบ และสิ้นเปลือง

          - รูปลักษณะของอาคารเริ่มมีความแตกต่างกันมากขึ้น ขาดความกลมกลืน และขาดเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

          การแก้ปัญหา

          - รวมเป็นอาคารเดียว อาคารที่มีประโยชน์ใช้สอยเหมือนกัน หรือสามารถรวมกับอาคารอื่นบริเวณใกล้เคียง ให้รวมเป็นอาคารหลังเดียวกัน ให้มีพื้นที่ต่อเนื่องกันทั้งประโยชน์ใช้สอย Circulation ซึ่งจะทำให้ภาควิชาหรือคณะนั้นๆ จะได้อาคารที่สนองประโยชน์ใช้สอยได้สมบูรณ์ ได้อาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นสาระและจะเป็นโอกาสได้แก้ปัญหารูปลักษณ์ของอาคารให้มีคุณค่าสอดคล้องกับภาพรวมของมหาวิทยาลัย โดยการรวมอาคารกระทำได้โดยการยื่นส่วนคานพื้นเข้ามาชิดอาคารเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกันโดยวิธี Expansion Joint

          - ทำให้เป็นกลุ่มอาคารเดียวกัน เนื่องจากอาคารในคณะ หรือภาควิชามีจำนวนมาก การมีอาคารใหม่ขึ้นมาอีกจำเป็นต้องจัดให้เกาะกลุ่มเป็นกลุ่มอาคารเดียวกัน เพื่อให้ประโยชน์ใช้สอยต่อเนื่องกัน ซึ่งอาจต้องใช้วิธีการ Expansion มาใช้ผสมผสานกับการทำทางเดินเชื่อมระหว่างอาคาร (Cover Way) การปรับปรุงของเดิมมีมากน้อยขึ้นอยู่กับความจำเป็นและขึ้นกับสภาพปัญหาการวางผังและการแก้ปัญหารูปลักษณ์

          - อาคารที่เป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย จากการพิจารณาเลือกอาคารที่มีคุณค่า แสดงสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยได้ดี คือ อาคารพระช่วง เกษตรศิลป์ ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ควรเน้นรักษาและต่อเติมปรับปรุงอาคารให้เป็นพิพิธภัณฑ์ความเป็นมาเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้ดูเด่นเป็นสง่า หลังคาเป็นแบบปั้นหยาตามลักษณะเดิม แต่ปรับปรุงให้เข้ากับการวางผังอาคารและให้ดูน่าสนใจขึ้น

แนวทางในการออกแบบและปรับปรุงอาคาร

          อาคารเดิมที่มีขนาดพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร ขึ้นไป กำหนดให้ต้องมีการออกแบบหลังคาเขียว ผนังเขียว หรือติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อทดแทนพื้นที่สีเขียวและการประหยัดพลังงาน สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องสร้างอาคารใหม่ เสนอให้มีการทดแทนพื้นที่สีเขียวเดิม เน้นการออกแบบอาคารเชิงนิเวศ กำหนดให้พื้นที่อาคารมีพื้นที่สีเขียวอย่างน้อย 20 เปอร์เซ็นต์ และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

ข้อกำหนดในการออกแบบวางผังอาคาร

          - กรณีสร้างอาคารใกล้ถนน กำหนดให้มีระยะร่น 3 เมตร จากขอบที่ดินมายังขอบของอาคารและความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด จะต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปยังจุดตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด อาคารที่มีความสูง 4 ชั้นขึ้นไปควรเว้นพื้นที่ชั้นล่างเป็นพื้นที่เปิดโล่ง อย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ความสูงของอาคารที่มีขนาดใหญ่ วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นผิวดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาใหญ่วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด ทั้งนี้ให้พิจารณาร่วมกับข้อกำหนดความสูงอาคารที่อนุญาตให้ก่อสร้าง

          - กรณีที่ตั้งอาคารใกล้คูระบายน้ำที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ควรเว้นระยะร่น 3 เมตร จากเขตริมคูน้ำถึงขอบอาคาร และหากคูระบายน้ำมีความกว้างมากกว่า 10 เมตร ควรเว้นระยะร่น 6 เมตร ทั้งนี้หากเป็นบึงขนาดใหญ่ ควรเว้นระยะร่น 12 เมตร การเว้นพื้นที่โล่งชั้นล่างอย่างน้อย 40 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ทั้งหมด ใช้ในกรณีอาคารสูง 4 ชั้นขึ้นไป

          - กรณีสร้างอาคารใหม่ในบริเวณพื้นที่ที่มีอาคารเดิมอยู่ กำหนดให้กรอบของอาคารที่สร้างใหม่ที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องอยู่ห่างจากกรอบของอาคารอื่นที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ไม่น้อยกว่า 4 เมตร ส่วนกรอบของอาคารที่สร้างใหม่ที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ต้องอยู่ห่างจากกรอบของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และกรอบของอาคารที่สร้างใหม่ที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ต้องอยู่ห่างจากกรอบของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 6 เมตร

          - กรณีอาคารที่สร้างใหม่มีความสูงเกิน 23 เมตร หรือมีพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารรวมมากกว่า 10,000 ตารางเมตร ซึ่งนับว่าเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษนั้น จะต้องมีระยะโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 6 เมตร เพื่อเว้นว่างสาหรับรถดับเพลิงวิ่งผ่านได้โดยรอบอาคาร กรณีเกิดเพลิงไหม้

แนวทางในการออกแบบด้านภูมิสถาปัตยกรรม

          เน้นการพัฒนาพื้นที่เปิดโล่ง ทางเดินเท้าและทางจักรยานตามจุดเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่การเรียนการสอนและพื้นที่นันทนาโดยการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบกลุ่มอาคารเรียนอาคารอาคารกีฬาสร้างความสวยงามเป็นพื้นที่สีเขียว ให้แก่นักศึกษา อาจารย์และบุคลากรสาหรับการพักผ่อนหย่อนใจและเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์พื้นที่ให้เกิดความคุ้มค่าไม่รกร้างสูญเปล่า

                                                      

                                                     

                                                      

                                                      

บทที่ 11 แผนพัฒนาผังแม่บทมหาวิทยาลัยแม่โจ้ [ระยะแรก]

          แผนพัฒนาผังแม่บทระยะแรกนี้ ถือเป็นมาตรการระยะสั้น เพื่อเป็นเครื่องมือเบื้องต้นในการกำกับการพัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัยมุ่งไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) โดยแผนระยะแรกได้ออกแบบวางผังการสัญจรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 15 ปี (Road Map) โดยในระยะแรกวัตถุประสงค์เพื่อต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ซึ่งเป็นมลพิษจากการใช้รถยนต์และจักรยานยนต์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสัญจรภายในมหาวิทยาลัย เป็นการเดินเท้าและการใช้รถจักรยาน และขนส่งมวลชน โดยได้เสนอแนวความคิดดังต่อไปนี้

11.1 การสร้างโครงข่ายทางเท้าและทางจักรยาน

          การสร้างโครงข่ายทางเท้าและทางจักรยาน เน้นการออกแบบเส้นทางเท้าและทางจักรยานสีเขียวให้เกิดแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อการเดินทาง โดยการวางผังโครงข่ายทางเท้าและทางจักรยานให้มีความต่อเนื่องและครอบคลุมมหาวิทยาลัย รวมถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้มีความสวยงามและสิ่งอานวยความสะดวก เช่น ทางเดินที่มีหลังคาคลุม ที่จอดรถซึ่งมีหลังคากันแดดกันฝน เป็นต้น

11.2 การควบคุมการสัญจรด้วยรถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์

          โดยกำหนดพื้นที่ปลอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพื่อสนับสนุนระบบการสัญจรทางเท้าและทางจักรยาน และเปลี่ยนจากถนนตารางกริดเป็นระบบวงแหวนเพื่อให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์เข้าถึงพื้นที่จากรอบนอก และสงวนพื้นที่ภายในให้แก่ทางเท้าและทางจักรยาน

11.3 การจัดสรรพื้นที่จอดรถส่วนกลาง

          โดยกำหนดออกแบบให้มีจุดจอดรถส่วนกลางอยู่บนบริเวณถนนวงแหวนรอบมหาวิทยาลัย เพื่อคืนพื้นที่ลานจอดรถให้เป็นพื้นที่นันทนาการ บริหารพื้นที่จอดรถและอำนวยความสะดวกให้มีประสิทธิภาพ เพียงพอต่อความต้องการและเกิดความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน เช่น จัดฝ่ายรักษาความปลอดภัยในจุดจอดรถต่างๆ หรือการติดตั้งกล้องวงจรปิดให้ครอบคลุมพื้นที่ และจัดทำหลังคาคลุมกันแดดฝน ซึ่งสามารถทำได้ในงบประมาณที่ลดลงเนื่องจากมีการจอดรถรวมกัน

11.4 การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน

          โดยการออกแบบเส้นทางขนส่งมวลชนขนาดเล็ก เช่น รถรางไฟฟ้า เพื่อเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่จอดรถกับอาคาร และจุดบริการรับส่ง ให้เพียงพอต่อความต้องการของนักศึกษาและบุคลากร รวมถึงบุคคลภายนอก

                                                     

ภาพที่ 47 ผังโครงข่ายเส้นทางเดินเท้า

                                                     

ภาพที่ 48 ผังโครงข่ายระบบการสัญจรรถยนต์และรถจักรยานยนต์

บทที่ 12 พื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินต่อการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การจัดการองค์ความรู้และเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมที่ให้ประสิทธิภาพสูง

          การพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การจัดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ตลอดจนการสร้างนวัตกรรมที่ให้ประสิทธิภาพสูงต่อการปรับตัวสู่ศตวรรษที่ 21 และการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ภายใต้การปฏิรูประบบการศึกษาการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) คือ โครงการที่เริ่มต้นปฏิรูประบบการศึกษา โดยกำหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเชิงยุทธศาสตร์ เป็นการกำหนดเป้าหมายและผลลัพธ์การดำเนินงานตามจุดเน้นเชิงยุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีขึ้นไป เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศและสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการครอบคลุมผลการดำเนินงาน (Performance) และศักยภาพ (Potential) ของสถาบันอุดมศึกษาแต่ละกลุ่ม เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งได้ใช้ความสามารถและศักยภาพอย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิรูประบบอุดมศึกษาจะใช้วิธีการกำหนดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาออกเป็น 4 กลุ่มเชิงยุทธศาสตร์ ดังนี้

1. การวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research)

          มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบุคลากรตอบโจทย์ตลาดแรงงานระดับโลก สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เป็นทิศทางของประเทศและมีคุณภาพระดับโลก

2. การพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology Development and Innovation)

          มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของอุตสาหกรรม สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามทิศทางและจุดเน้นของประเทศ

3. การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based and Community Engagement)

          มุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะสูงตามความต้องการของท้องถิ่นและพัฒนาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม

4. การผลิตบุคลากรวิชาชีพสาขาต่างๆ (Professional Development)

          มุ่งเน้นการให้บริการการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศมีความสามารถในการเรียนรู้พัฒนาตนเอง เพื่อยกระดับความสามารถทางวิชาชีพเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นมืออาชีพให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในการประกอบอาชีพและมีส่วนร่วมสร้างสรรค์คุณค่าให้กับสังคมชุมชน

          ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อันมีภูมิปัญญารากฐานจากการเกษตร พัฒนาสู่การสร้างบัณฑิตที่มีทักษะสูงตอบโจทย์อุตสาหกรรมการเกษตรและตระหนักถึงสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่เน้นเทคโนโลยีในการแก้ปัญหา อีกทั้งยังพัฒนาผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ก่อเกิดมูลค่าสูงเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยแม่โจ้มีศักยภาพในการปฏิรูประบบการศึกษาและการพัฒนากรอบคิดภายใต้กลุ่มเชิงยุทธศาสตร์ที่ 2 ที่มุ่งเน้นการสร้าง การพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของอุตสาหกรรม สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมตามทิศทางและจุดเน้นของประเทศ

          ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านมหาวิทยาลัยแม่โจ้สู่ปีที่ 100 (จาก 2477 สู่ 2577) เพื่อกำหนดให้สามารถดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐานและภารกิจตามยุทธศาสตร์ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการในอนาคตจากการดำเนินงานแบบคู่ขนานคือ

         1. ความเป็นเลิศการศึกษา Academic excellence ที่ขับเคลื่อนภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยทางด้านการเรียนการสอนเชิงวิชาการ การแข่งขันระรับสากล การสร้างและพัฒนาหลักสูตรเน้นการผลิตบัณฑิตบนโครงสร้างการดำเนินงานปกติ Maejo Operation Center (MOC)

          2. ความเป็นเลิศเชิงยุทธศาสตร์ Strategic excellence ที่ขับเคลื่อนความเป็นเลิศทางเกษตรสู่ความเป็นนานาชาติที่มีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศบนโครงสร้างเชิงซ้อนแบบเมทริกส์ที่ดำเนินงานตามโปรแกรมเชิงยุทธศาสตร์ Strategic Program Office (SPO) จากกรอบแนวคิดข้างต้นเหล่านี้ นำมาซึ่งการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินของผังแม่บทมหาวิทยาลัยแม่โจ้ปีปัจจุบัน (พ.ศ.2564) โดยการสำรวจและวางตำแหน่งพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเข้าถึงและเชื่อมโยงทรัพยากรโดยรวมของมหาวิทยาลัย อาทิ คณะ/สานัก/ศูนย์ต่างๆ พื้นที่ฐานเรียนรู้ทั้งกลางแจ้งและห้องปฏิบัติการ ตลอดจนการเข้าถึงของผู้ใช้บริการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ในครั้งนี้ทางคณะกรรมการสำรวจและจัดทำผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้กำหนดทำเลและสถานที่ให้สอดคล้องรับกับการพัฒนา ได้กำหนดสีสัญลักษณ์ (สีแดงคาดทะแยงขาว)เป็นพื้นที่กำกับการใช้ประโยชน์ที่ดินต่อการพัฒนาเพื่อมุ่งสู่การจัดการองค์ความรู้และเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมที่ให้ประสิทธิภาพสูง

                                                     

สรุป

          โครงการปรับปรุงและจัดทำผังแม่บทในครั้งนี้ ได้ดำเนินการพัฒนาผังแม่บท โดยได้ศึกษาและดำเนินการพัฒนาผังแม่บทโดยประกอบไปด้วย

          - การออกแบบวางผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน

          - การออกแบบวางผังระบบสัญจร ได้แก่ ผังระบบการสัญจรรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ผังระบบจุดพื้นที่ที่จอดรถส่วนกลาง และผังระบบสัญจรทางเท้าและทางจักรยาน

          ซึ่งดำเนินงานภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยระยะ 15 ปี Road Map (พ.ศ. 2555 – 2569) เพื่อบรรลุเป้าหมายในการเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งชีวิต Maejo University of Life

ปัญหาและข้อเสนอแนะ

          ปัญหาและข้อจากัดในการดำเนินการในการจัดทำผังแม่บทในครั้งนี้ นับได้ว่าเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงจากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้เป็นมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงอาจมีอุปสรรคอยู่บ้าง ซึ่งขอนำมารวบรวมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการพัฒนาผังแม่บทในครั้งต่อไป

ข้อจำกัดด้านระยะเวลาและงบประมาณ

          ในการดำเนินการในครั้งนี้มีข้อจำกัดด้านระยะเวลาและงบประมาณอย่างยิ่ง จึงทำให้ไม่สามารถจัดทำผังแม่บทเพื่อชี้นำในเชิงรูปธรรมได้ เนื่องจากขาดข้อมูลสำคัญหลายอย่าง เช่น ความต้องการใช้พื้นที่ในอนาคตของแต่ละหน่วยงาน ประมาณการจำนวนนักศึกษาในอนาคต จึงทำได้เพียงการออกแบบวางผัง นโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่และการออกแบบวางผังระบบสัญจรเป็นหลัก

          ผังแม่บทฉบับนี้อาจถือเป็นมาตรการระยะสั้นเพื่อให้ทางผู้บริหารมีเครื่องมือเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว ในการกำกับการพัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการจัดทำผังในรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับแต่ละบริเวณ เพื่อให้สามารถพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ได้ในเชิงรูปธรรมยิ่งขึ้น

          ควรกำหนดพื้นที่นำร่องขึ้นมาเพื่อพัฒนาให้เห็นเป็นตัวอย่าง ซึ่งจะช่วยให้ประชาคมเห็นถึงผลดี และเกิดความยอมรับในการพัฒนาตามผังแม่บท

ควรจัดงบประมาณเพื่อการจัดทำผังในรายละเอียดอย่างเพียงพอ และควรกำหนดงบประมาณบางส่วนเพื่อทำการวิจัยติดตามและประเมินผลการใช้ผังแม่บท รวมทั้งมีการปรับปรุงผังตามรอบอย่างน้อยทุก ๆ 5 ปี


ปรับปรุงข้อมูล 25/8/2564 13:32:25
, จำนวนการเข้าดู 0