ประวัติความเป็นมา

            มหาวิทยาลัยแม่โช้เชียงใหม่ เป็นสถาบันการศึกษาด้านเกษตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ได้เปิดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2477 มีชื่อว่า โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ มีประวัติความเป็นมาดังต่อไปนี้

            พ.ศ.2460 เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี สนาบดีกระทรวงธรรมการได้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรม ขึ้นที่บริเวณหอวัง หรือบ้านสวนหลวงสระประทุมบริเวณกรีฑาสถานแห่งชาติในปัจจุบันเรียกว่า "โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมหอวัง" ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของฐานความคิดและกิจกรรมของรัฐค้านให้การศึกษาแผนใหม่ทางการเกษตร

          พ.ศ.2477 กระทรวงธรรมการได้จัดตั้งเป็น โรงเรียนฝึกหัดครูประถมกสิกรรมภาคเหนือ โดยรับนักเรียนจากผู้ที่สำเร็จมัธยมปีที่ 6 หลักสูตรกำหนดเวลาเรียน 2 ปีโดยมีพระช่วงเกษตรศิลปการ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าสถานีทดลองกสิกรรมภาคพายัพ ดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์

            พ.ศ.2477 กระทรวงธรรมการได้จัดตั้ง "โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือขึ้น” โดยใช้สถานที่ร่วมกับโรงเรียนฝึกหัดครู ประถมกสิกรรมประจำภาคเหนือ โรงเรียนวิสามัญเกษตรกรรมที่ตั้งขึ้นใหม่นี้มีหลักสูตรเวลาเรียน 4 ปีโดยรับจากผู้ที่สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 4 โรงเรียนสามัญเมื่อเรียนจบแล้ว กระทรวงธรรมการกำหนดให้มีวิทยฐานะเทียบเท่าชั้นมัธยมปีที่

           พ.ศ.2481 กระทรวงธรรมการ ได้ยุบเลิกโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคใต้ ที่คอหงส์ จังหวัดสงขลา โรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคกลาง บางกอกน้อย ธนบุรี และโรงเรียนมัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคอีสาน ที่โนนวัด จังหวัดนครราชสีมา และโอนกิจการทั้งหมดของโรงเรียนเหล่านั้น มารวมกันที่มัธยมวิสามัญเกษตรกรรมภาคเหนือที่แม่โจ้ เพียงแห่งเดียว ในปีเดียวกันนี้เอง ได้โอนกิจการจากกระทรวงธรรมการ ไปอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตราธิการ และเปลี่ยนเป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แม่โจ้ โดยได้รับผู้ที่สำเร็จ จากหลักสูตรมัธยมวิสามัญเกษตรกรรม เพื่อเข้าศึกษาตามหลักสูตรอนุปริญญาเป็นเวลา 3 ปีทางเกษตรศาสตร์ สหกรณ์และวนศาสตร์

           พ.ศ.2452 กระทรวงเกษตราธิการได้จัดตั้งวิทยาลัยเกษตรศาสตร์พื้นที่เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ และที่แม่โจ้ให้เตรียม เป็นวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรเวลาเรียน 2 ปี โดยรับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 สำเร็จจึงเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บางเบนได้เลย

             พ.ศ.2486 เปลี่ยนเป็น "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" ทั้งนี้เพราะวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

            พ.ศ.2491 กระทรวงเกษตราธิการได้โอนกิจการให้แก่กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและเปลี่ยนเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมแม่โจ้” รับจากผู้สำเร็จชั้นมัธยมปีที่ 6 (ม.3 ปัจจุบัน) เข้าศึกษาต่ออีก 3 ปีสำเร็จแล้วได้รับประกาศนียบัตรอาชีวชั้นสูง แผนกเกษตรกรรม โยเริ่มดำเนินการรับนักเรียนประเภทนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.2492 เป็นต้นมา

              พ.ศ.2499 ได้รับการ "ยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่" และขยายหลักสูตรถึงประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม (ปมก.)

          พ.ศ. 2505 ย้ายกิจการฝึกหัดครูมัธยมเกษตรกรรม ไปเปิดดำเนินการที่วิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และ "เปิดหลักสูตรเทคนิคเกษตร" หรือ "ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงแผนกเกษตรกรรม" ขึ้นเป็นแห่งแรก

               พ.ศ.2518 ได้รับการสถาปนาเป็น “สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร" โดยพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ.2518

           เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2516 คณะนักศึกษาของวิทยาลัยเกษตรกรรม เชียงใหม่ได้ทำเรื่องเสนอ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี นายสุกิจ นิมมานเหมินทร์ ถึงความจำเป็นที่ควรจะยกฐานะของวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ขึ้นเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อจัดการศึกษาอาชีวเกษตรและเทคนิคเกษตรให้ชั้นสูงขึ้นไปและเป็นการผลิตบัณฑิตในสาขาเทคโนโลยีการเกษตรและธุรกิจการเกษตรและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทาซึ่งทางการเกษตร เพื่อสนองความต้องการของประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในอันที่จะพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วลงมติในหลักการไม่ขัดข้อง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2516 และให้ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพิจารณาดำเนินการต่อไป

            ตามหลักการเดิม สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรจะขอเป็นสถาบันสมทบ ในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น แต่ทางสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าไม่อาจรับเข้าเป็นสถาบันสมทบได้เพราะสถาบันไม่มีนโยบายในการผลิตบัณฑิตทางเทคโนโลยีการเกษตร ด้วยเหตุนี้สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรจึงขอเป็นสถาบันเอกเทศสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งถ้าเป็นไปได้จริงแล้วจะต้องโอนวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ในกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปสังกัดและเป็นส่วนราชการในทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เมื่อรัฐบาลได้ปร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลอีการเกษตร พ.ศ.2517 เสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2517 ได้ถูกสมาชิกคัดค้านไม่เห็นด้วยในหลักการ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกับคณะเกษตรศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น และจะเป็นการทำให้ผลิตกำลังคนในระต้นกลางทางเกษตรกรรม ซึ่งกรมอาชีวศึกษากำลังกระทำอยู่ต้องขาดไป ในที่สุดที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติไม่รับหลักการร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ.2517 ด้วยคะแนนเสียง 60 ต่อ 40 ร่าง พระราชบัญญัติฉบับนี้จึงเป็นอันตกไป

            หลังจากร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรไม่ผ่านสภา เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2517 แล้ว คณะนักศึกษาและคณาจารย์วิทยาลัยเกษตรเชียงใหม่ ได้จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ข้อเท็จจริงและเหตุผลในการขอยกฐานะวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ขึ้นเป็นสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรออกแจกให้ประชาชนและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วยตนเองเพื่อชี้แจงให้ทราบว่า การจัดการศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรจะไม่เป็นการซ้ำซ้อนงานของมหาวิทยาลัยที่มีคณะเกษตรศาสตร์อยู่แล้ว เพราะพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนและความมุ่งหมายในการสอนแตกต่างกันกล่าวคือ มหาวิทยาลัยรับเฉพาะผู้ที่สำเร็จขึ้น ม.ศ.5 สายสามัญ เข้าไปศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีโดยให้ความรู้ในด้านการเกษตรทั่วๆ ไป เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อในสาขาเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นสูงที่มุ่งในทางวิทยาศาสตร์และการวิจัย ส่วนสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรจะรับนักศึกษาอาชีวเกษตรที่สำเร็จขึ้น ม.ศ.6 และ ปวส. แผนกเกษตรกรรมเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร 4 ปี และ 2 ปี ตามลำดับ เป็นการคัดเลือกเอานักศึกษาอาชีวเกษตรที่มีความสามารถทางสมองและทางปฏิบัติจำนวนประมาณร้อยละ 20 ของผู้ที่จบ ปวส. แผนกเกษตรกรรมทั้งประเทศ ซึ่งนักศึกษาดังกล่าวนี้มีโอกาสศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในประเทศยากมาก ต้องดิ้นรนออกไปศึกษาในมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรมีหลักการสอนและการฝึกเน้นหนักไปทางปฏิบัติในสาขาวิชาที่ตนถนัดเพื่อให้มีความรู้ความชำนาญอย่างแท้จริงจนสามารถออกไปประกอบอาชีพได้ โดยไม่ต้องมุ่งรับราชการแต่อย่างเดียว และเป็นการให้การศึกษาเพียงชั้นปริญญาตรีเท่านั้น

            เมื่อได้นำข้อเท็จจริงนี้เสนอต่อรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสามชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้การสนับมนุนเป็นจำนวนมากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ลงมติเห็นชอบในหลักการ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2517 กำหนดให้สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรมีอำนาจให้ปริญญาในสาขาที่มีการสอน ในสถาบันเพียงชั้นเดียว คือ ชั้นปริญญาตรี เมื่อรัฐบาลได้ส่งร่างพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ.2517 ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2517 หลังจากอภิปรายกันแล้วสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ด้วยคะแนนเสียง 87 ต่อ 9 แล้วส่งให้กรรมาธิการศึกษาพิจารณาเสร็จแล้ว ได้เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาในวาระสองและวาระสามประกาศเป็นกฎหมายเมื่อวัน 2 มกราคม 2518 ด้วยคะแนนเสียง 101 ต่อ 0 พร้อมกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ รัฐบาลได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 261 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2518 และร่างพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารบางส่วนของกรมอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่ประชุมได้พิจารณาสามวาระรวดแล้วประกาศเป็นกฎหมายในวันเดียวกัน

            พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 261 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2518 และพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารบางส่วนของกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสถาบันเทคโนโลยีการเกษตร ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ พ.ศ.2518 ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 92 ตอนที่ 41 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ระลึกคล้ายวันสถาปนาสถาบัน

             พ.ศ.2525 เปลี่ยนชื่อจากสถาบันเทคโนโลยีการเกษตรเป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้" ตามประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ หน้า 4 เล่ม 99 ตอนที่ 15 ราชกิจจานุเบกษา 3 กุมภาพันธ์ 2525 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้คือ เนื่องจาก วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ทั้งประเทศ เนื่องจากมีนักศึกษาที่มาจากทุกภาคของประเทศ ได้เข้าไปศึกษา ณ สถาบันนี้ แต่เมื่อวิทยาลัยเกษตรกรรมเชียงใหม่ ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "สถาบันเทคโนโลยีการเกษตร นามนี้จึงไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น

             พ.ศ.2527 สถาบันฯ เปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาโทเป็นครั้งแรกโดยเปิดรับนักศึกษา 2 สาขาวิชาคือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ และสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร

             พ.ศ.2539 ได้ยกฐานะจาก สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้เป็น "มหาวิทยาลัยแม่โจ้" ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2539

            ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ.2539 เปลี่ยนสถานะจากมหาวิทยาลัยของรัฐเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ภายในการกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ โดยไม่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแม่โจ้  พ.ศ.2560 ซึ่งประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560 และมีผลบังคับใช้ 30 วันนับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปคือให้มีผลบังคับใช้ใน 6 พฤษภาคม พ.ศ.2560

สภาพทางภูมิศาสตร์

            มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ตั้งอยู่เลขที่ 63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ถนนเชียงใหม่ - พร้าว พิกัด UTM ที่ 501322.27 ตะวันออก 2089343.48 เหนือ มีเนื้อที่ประมาณ 776 - 1 - 84 ไร่ หรือประมาณ 1,242,331.79 ตารางเมตร

อาณาเขตติดต่อ 

      ทิศเหนือ           ติดต่อกับ     ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด เขต 1 เชียงใหม่

      ทิศใต้               ติดต่อกับ     ชุมชนสหกรณ์นิคม 1 และชุมชนสหกรณ์นิคม 2

      ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ     คลองชลประทาน

      ทิศตะวันตก       ติดต่อกับ     ชุมชนแม่โจ้ และชุมชนทุ่งหมื่นน้อย


ปรับปรุงข้อมูล 4/8/2564 15:19:51
, จำนวนการเข้าดู 12